วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

twisted pair

twisted pair เป็นสายทองแดงแบบดั้งเดิมที่เชื่อมต่อบ้านและบริษัทต่าง ๆ กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เพื่อลด cross talk หรือการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างคู่สาย จะใช้สายทองแดงหุ้มฉนวนพันกันเป็นเกลียว แต่ละการเชื่อมต่อบนสาย twisted pair ต้องการทั้ง 2 สาย เนื่องจากโทรศัพท์บางแบบหรือที่ตั้งโต๊ะ บางที่ต้องการเชื่อมแบบหลายการเชื่อมต่อ สาย twisted pair ในบางครั้งจึงมี 2 คู่ หรือมากกว่าภายในสายเคเบิลเดียว สำหรับที่ตั้งบริษัทบางแห่ง สาย twisted pair มีการหุ้มเพื่อทำหน้าที่เป็นสายดิน ซึ่งเรียกว่า shield twisted pair (STP) สายที่ใช้ตามบ้านทั่วไปคือ unshielded twisted pair (UTP)

twisted pair ในปัจจุบันได้รับการติดตั้งแบบ 2 คู่ ตามบ้าน โดยคู่ที่เพิ่มทำให้สามารถเพิ่มสายได้เมื่อต้องการ

twisted pair จะมีรหัสสีของแต่ละคู่ไม่ซ้ำ สำหรับแบบหลายคู่ ในการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น อะนาล็อก ดิจิตอล และ Ethernet ต้องการคู่ที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่า twisted pair มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้งานในบ้าน แต่สาย twisted pair เกรดสูงมักจะใช้ สำหรับการวางสายแนวนอนในการติดตั้ง LAN เนื่องจากถูกกว่า coaxial cable

optical fiber

optical fiber อ้างถึง ตัวกลาง หรือ เทคโนโลยีตรงกับการส่งของสารสนเทศ เป็นสัญญาณแสงผ่านแก้ว หรือสายพลาสติก หรือ fiber ความสามารถการนำพาสารสนเทศของ optical fiber มีมากกว่าสายทองแดงดั้งเดิม ไม่มีการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และต้องการส่งผ่านสัญญาณซ้ำ การส่งผ่านบนสาย optical fiber ต้องการ repeater ตามระยะห่างที่เหมาะสม และต้องการการป้องกันภายในเคเบิ้ลชั้นนอกมากกว่าทองแดง

single mode fiber เป็นการสำหรับระยะไกล multi-mode fiber เป็นการใช้ในระยะที่ใกล้กว่า

coaxial cable

ที่มา SearchDataCenter.com
 
coaxial cable เป็นสายเคเบิลทองแดงชนิดหนึ่งใช้โดยผู้ให้บริการ เคเบิลทีวี ระหว่างสถานีส่งกับผู้ใช้ตามบ้าน และธุรกิจ coaxial cable บางครั้งใช้โดยบริษัทโทรศัพท์จาก central office ไปยังตู้โทรศัพท์ใกล้ผู้ใช้ และมีการใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับระบบเครือข่ายแบบ Ethernet และเครือข่าย LAN อื่น ๆ


(ภาพ SearchDataCenter.com)

coaxial cable ได้รับการเรียกว่า " Coaxial" เพราะภายใน 1 ช่องทางกายภาค มีการนำสัญญาณโดยรอบ (ต่อจากชั้นฉนวน) ด้วยช่องสัญญาณทางกายภาคที่ซ้ำซ้อน ซึ่งทั้งคู่ใช้ส่งสัญญาณตลอดแกนเดียวกัน ช่องสัญญาณชั้นนอกทำหน้าที่เป็นกราวด์ และสามารถนำสายสัญญาณหลายสัญญาณ ในตัวหุ้มเดียวกัน เมื่อใช้กับ repeater จะสามารถส่งสารสนเทศได้ไกลขึ้น

coaxial cable ได้รับการประยุกต์ เมื่อปี 1929 และนำไปใช้เชิงพาณิชย์ ในปี 1941 โดยบริษัท AT&T วางสายส่งด้วย coaxial cable ในสหรัฐฯ ในปี 1940 นอกจากนี้มีการใช้สาย twisted pair และ optical fiber ด้วยซึ่งขึ้นกับเทคโนโลยีการส่งผ่าน และปัจจัยอื่น ๆ

100 BASE-T

ใน แบบ 100 Mbps มีการใช้สาย 3 ชนิด คือ

- 100 BASE-T4 (สายแบบ Twisted pair 4คู่)
- 100 BASE-TX (สายแบบ Twisted pair ชนิด datagrade 2 คู่)
- 100 BASE-FX (สายไฟเบอร์ออบติค ชนิด 2-strand

การอธิบายความหมายตาม Institute Electrical and Electronics Engineers "100" หมายถึงความเร็วการส่งข้อมูล 100 mbps "BASE" หมายถึงสัญญาณที่ใช้คือสัญญาณ Ethernet "T4", "TX" และ "FX" หมายถึงตัวกลางนำสัญญาณทางกายภาค

ในบางครั้งประเภท TX และ FX จะอ้างถึงร่วมกันเป็น "100 BASEX"

Fiber Distributed-Data Interface (FDDI)

FDDI (Fiber Distributed-Data Interface) เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งข้อมูลบนสาายไฟเบอร์ออฟติค ที่สามารถขยายช่องได้ถึง 200 กิโลเมตร โปรโตคอล FDDI มีพื้นฐานจากโปรโตคอล token ring นอกจากจะใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว FDDI ในเครือข่าย สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันคน

เครือข่าย FDDI มี 2 token ring โดยตัวหนึ่งเป็นตัวสำรองกรณีที่ primary ring ไม่ทำงานโดย primary ring มีความสามารถส่งข้อมูลได้ 100 Mbps ถ้าไม่ใช้ secondary ring ในการสำรองแล้วการส่งข้อมูลจะขยายเป็น 200 Mbps การใช้ชุดเดียวสามารถขยายได้เต็มระยะทาง แต่ถ้าใช้ชุดคู่การทำงานจะเป็น 100 กิโลเมตร

FDDI เป็นผลิตภัณฑ์ของ America National Standards Committee X33-T9 และทำตาม Open system interconnect (OSI) model ของเลเยอร์ฟังก์ชัน ทำให้ใช้ในการเชื่อมต่อภายในของ LAN ที่ใช้โปรโตคอลอื่นได้ FDDI-II เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ FDDI ที่เพิ่มความสามารถด้วยการเพิ่มสวิทซ์วงจรให้กับเครือข่าย ซึ่งทำให้ดูแลสัญญาณเสียงได้ และกำลังพัฒนาระบบเครือข่าย FDDI ให้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายแบบ Synchronous Optical Network

token ring

เครือข่ายแบบ token ring เป็นระบบเครือข่ายแบบ LAN ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อด้วย topology แบบ หรือ star และระบบเลขฐานสอง (หรือ token) เป็นแบบแผนการส่งที่ใช้ในการป้องกันการชนกันของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ที่ต้องการส่ง message ในเวลาเดียวกัน โปรโตคอลของ token ring ได้รับการใช้เป็นอันดับที่สองในระบบ LAN รองจาก Ethernet โปรโตคอล โดย IBM token ring ได้นำไปสู่มาตรฐานของ IEEE 802.5 ซึ่งโปรโตคอลทั้งสองได้รับการใช้และคล้ายกันมาก การส่งข้อมูลของเทคโนโลยี IEEE 802.5 token ring ให้อัตราการส่งข้อมูล 4 -16 Mbps ลักษณะการทำงานโดยย่อ

1. ใช้การส่ง information frame เปล่า ไปรอบ ring อย่างต่อเนื่อง

2. เมื่อมีคอมพิวเตอร์ตอบการส่ง message จะเพิ่ม token เข้าไปใน frame เปล่า (ซึ่งบิตของ token ในเฟรมจะเปลี่ยนจาก "0" เป็น "1") และแทรก message และจุดหมายปลายทางใน frame

3. เมื่อ frame ได้รับการตรวจสอบโดยแต่ละ เวิร์กสเตชั่น โดยเวิร์กสเตชั่นที่เป็นปลายทางของ message จะก็อบปี้ message จาก frame แล้วเปลี่ยน token กลับเป็น 0

4. เมื่อ frame กลับไปที่จุดเริ่มต้น และเห็นว่า token เปลี่ยนเป็น 0 แล้ว ซึ่งแสดงว่ามีการรับ message ไปแล้ว จากนั้นจะมีการลบ message จาก frame

5. frame ดังกล่าวจะหมุนเวียนเป็น frame เปล่าต่อไป พร้อมที่จะรับ message จากอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ใหม่

Arcnet (Attached Resource Computer Network)

Arcnet (Attached Resource Computer Network) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้อย่างกว้างขวางของ Datapoint ผู้ริเริ่มระบบเครือข่ายแบบ ซึ่ง Arcnet ใช้แบบแผนของ Token-bus ในการจัดการใช้งานร่วม ของเครื่องลูกข่ายและ อุปกรณ์ ที่ต่อพ่วงกับ เครื่องแม่ข่ายจะส่งข้อความแบบ empty message frame บนบัส อย่างต่อเนื่อง เมื่ออุปกรณ์ต้องการส่งข้อความจะแทรก "Token" (โดยตั้งค่าง่าย ๆ ให้กับ Tokenbit เป็น 1) เข้าไปใน empty message frame เมื่ออุปกรณ์ปลายทาง หรือเครื่องแม่ข่าย อ่านข้อความแล้ว จะตั้งค่า Token ใหม่เป็น 0 ทำให้ frame นั้นสามารถนำไปใช้ได้ แบบแผนนี้มีประสิทธิภาพมากเมื่อ traffic เพิ่มขึ้น เพราะอุปกรณ์ทุกตัว สามารถใช้ระบบ เครือข่าย ด้วยโอกาสเหมือนเดิม

Arcnet สามารถใช้ สาย Coaxial และ fiber optic โดยการใช้สายไม่เกิน 2000 ฟุต ต่อ เซ็กเมนต์ ในขนาดรวมทั้ง 20,000 ฟุต จะไม่เกิดความสูญเสียของ bandwidth และขนาด bandwidth ของ Arcnet มีความสามารถรองรับการไหลของข้อมูล 2.5 Mbps เมื่อเปรียบ เทียบกับเทคโนโลยี 4 แบบของระบบ (คือ Arcnet, Ethernet, token ring และ Fiber Distributed-Data Interface) เทคโนโลยี Arcnet มีค่าใช้จ่ายการติดตั้งต่ำที่สุด

ethernet

ethernet เป็นเทคโนโลยีของ LAN ที่ได้รับการติดตั้งอย่างกว้างขวาง โดยระบุตามมาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet มีการพัฒนาโดย Xerox และพัฒนาต่อโดย Xerox, DEC และIntel แบบฉบับของ ethernet ใช้สาย coaxial หรือสาย twisted pair แบบพิเศษ ระบบที่ติดตั้งด้วย ethernet เรียก 10BASE-T และให้ความเร็วในการส่งข้อมูล 10 Mbps อุปกรณ์ในการติดต่อกับสายและการเข้าสู่ระบบใช้ โปรโตคอลแบบ Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection (CSMA/CD)
Fast Ethernet หรือ 100BASE-T ให้ความเร็วถึง 100 Mbps และปกติมักจะใช้เป็น backbone ของระบบ ซึ่งสนับสนุนเครื่องลูกข่ายที่ใช้การ์ด 10BASE-T ในส่วน Gigabit Ethernet ให้ความเร็วของ backbone เป็น 1000 Mbps หรือ 1gigabit ต่อวินาที

สารสนเทศเพิ่มเติม

แนวคิด Ethernet : Ethernet's conceptual overview
IEEE 802.3 standard : IEEE
Ethernet Web Site : Charles Spurgeon's Ethernet Web Site

Web server

ที่มา Whatis.com
 
Web server (แม่ข่ายเว็บ) เป็นโปรแกรม ซึ่งใช้แบบจำลอง ลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) และ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ของ World Wide Web ที่ให้บริการไฟล์ที่เป็นรูปแบบเว็บเพจให้ผู้ใช้เว็บ (ซึ่งคอมพิวเตอร์เก็บลูกข่าย HTTP ที่ส่งต่อคำขอ) คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเตอร์เน็ตที่เก็บเว็บไซต์ต้องมีโปรแกรมแม่ข่าย เว็บ แม่ข่ายนำตลาด 2 โปรแกรมคือ Apache ที่มีการติดตั้งเป็นแม่ข่ายเว็บอย่างกว้างขวาง และ Internet Information Server (IIS) ของ Microsoft แม่ข่ายเว็บอื่น รวมถึงแม่ข่ายเว็บของ Novell สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Netware และตระกูลของแม่ข่าย Lotus Domino ของ IBM ส่วนใหญ่สำหรับลูกค้าของ OS/390 และ AS/400

แม่ข่ายเว็บมักจะมาเป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจขนาดใหญ่ของอินเตอร์เน็ต และโปรแกรมที่เกี่ยวอินทราเน็ตสำหรับแม่ข่ายอีเมล์ คำขอดาวน์โหลดสำหรับ File Transfer Protocol (FTP) และการสร้างและเผยแพร่เว็บเพจ การพิจารณาเลือกแม่ข่ายเว็บ รวมถึงการทำได้ดีกับระบบปฏิบัติการและแม่ข่ายอื่น ความสามารถในการควบคุมโปรแกรมด้านแม่ข่าย คุณลักษณะความปลอดภัย การเผยแพร่ search engine และเครื่องมือสร้างไซต์ที่อาจจะมีมาด้วย

client/server

ที่มา SearchNetworking.com
 
client/server เป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2 โปรแกรม โดยโปรแกรมหนึ่งที่เป็น client จะสร้างคำของบริการ จากอีกโปรแกรม หรือ server ที่จะทำให้การขอครบถ้วน ถึงแม้ว่าแนวคิด client/server สามารถใช้โดยโปรแกรมภายในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว แต่แนวคิดนี้ เป็นแนวคิดสำคัญในระบบเครือข่าย ในเครือข่ายแบบจำลอง client/server ให้แบบแผนการติดต่อภายในโปรแกรม ที่ให้ประสิทธิภาพการกระจายข้ามตำแหน่งที่ต่างกัน ทรานแซคชันของคอมพิวเตอร์ใช้แบบจำลอง client/server เช่น การตรวจสอบบัญชีธนาคารจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ โปรแกรม client ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้จะส่งคำขอไปที่โปรแกรม server ที่ธนาคารโปรแกรม server จะส่งต่อคำขอไปยังโปรแกรม client ของตัวเอง ซึ่งเป็นการส่งคำขอไปยังฐานข้อมูลแม่ข่ายในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นของธนาคาร เพื่อถึงข้อมูลจากบัญชีของผู้ขอ ข้อมูลจากบัญชีจะได้รับการส่งกลับไปยัง client ของข้อมูลธนาคาร ซึ่งเป็นการข้อมูลกลับไปยังโปรแกรม client ในคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงสารสนเทศให้กับผู้ขอหรือผู้ใช้

แบบจำลอง client/server จะมีแม่ข่าย (server) 1 แม่ข่าย บางครั้ง เรียกว่า daemon เป็นผู้กระทำ และคอยคำขอของ client โดยปกติ โปรแกรม client หลายโปรแกรม ใช้บริการร่วมกันจากโปรแกรม server 1 โปรแกรม ทั้งโปรแกรม client และ server มักจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์ขนาดใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับอินเตอร์เน็ต web browser ของผู้ใช้เป็นโปรแกรม client ที่ขอการบริการจาก web server (ในทางเทคนิค เรียกว่า Hypertext Transfer Protocol server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์อีกเครื่องบนอินเตอร์เน็ต คล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้ง TCP/IP ยินยอมให้ผู้ใช้สร้างคำขอ client เพื่อขอไฟล์ จาก file transfer protocol server ในคอมพิวเตอร์อีกเครื่องบนอินเตอร์เน็ต แบบจำลองความสัมพันธ์ของโปรแกรมแบบอื่น ได้แก่ master/slave ซึ่งมีโปรแกรมหลักในการทำงานและ peer -to-peer ที่ให้หนึ่งในสองโปรแกรมสามารถทรานแซคชันเริ่มต้นได้

สารสนเทศเพิ่มเติม

Overview ของสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ Client / Server : The Software Engineering Institute at Carnegie-Mellon University.

client

client เป็นโปรแกรมหรือผู้ใช้ที่ขอ ในความสัมพันธ์ลูกข่าย/แม่ข่าย (client/server) เช่น ผู้ใช้ web browser เป็นผู้สร้างการขอ client สำหรับเพจจากเครื่องแม่ข่าย browser โดยตัวเอง เป็น client ของความสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ที่นำและส่งกลับคำขอไฟล์ HTML คอมพิวเตอร์ที่รับคำขอและส่งกลับไฟล์ HTML คือ server

Server

1) โดยทั่วไป Server คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น

2) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่โปรแกรม Server ที่ทำงานอยู่อ้างถึงในฐานะของ Server

3) ในแบบจำลองระบบโปรแกรมลูกข่าย/แม่ข่าย (Client/server) Server เป็นโปรแกรมที่รอและตอบสนองให้กับโปรแกรม Client ในเครื่องคอมพิวเตอร์เดียวกันหรือคนละเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ได้รับการประยุกต์จะทำงานในฐานะ Client โดยขอรับการบริการจากโปรแกรมอื่น และ Server เป็นผู้รับคำขอจากโปรแกรมอื่น ถ้าเจาะจงที่เว็บ Web server เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บริการการขอเพจ HTML ของผู้ใช้ Web browser เป็น Client ที่ใช้ขอไฟล์ HTML จาก Web server

Local area network (LAN)

Local area network (LAN) เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้สายติดต่อร่วมกัน เพื่อใช้ทรัพยากรของเครื่องแม่ข่ายร่วมกันภายในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติเครื่องแม่ข่ายจะเก็บข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ลูกข่ายสามารถเข้ามาใช้ได้ ขนาดของ LAN อาจจะประกอบผู้ใช้ 2-3 ราย หรือหลายพันราย

เทคโนโลยีหลัก
- Ethernet
- Token ring
- Attached Resource Computer Network
- Fiber Distributed-Data Interface

ตามปกติ ชุดของโปรแกรมประยุกต์สามารถเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย ผู้ใช้สามารถเข้าเรียกมาใช้ข้อมูล และโปรแกรมโดยทำงานจากเครื่องลูกข่ายได้ ในขณะที่การสั่งพิมพ์และบริการอื่นเป็นการทำงานที่เครื่องแม่ข่าย การใช้ไฟล์ร่วมกับผู้ใช้รายอื่นบนเครื่องแม่ข่าย ต้องมีการกำหนดสิทธิโดยผู้บริหารระบบ

เครื่องแม่ข่ายของ สามารถใช้ Web server ได้ถ้ามีระบบป้องกันข้อมูล และโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ภายในจากการเข้าถึงของบุคคลภายนอก

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Proxy server

ในระดับผู้ใช้แบบบริษัทขนาดใหญ่บนอินเตอร์เน็ต Proxy server หมายถึงเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้ในระดับเครื่องลูกข่ายกับอินเตอร์เน็ต เพื่อทำให้บริษัทนั้นมีความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัย การบริหารระบบ และการบริการแบบ caching ระบบ Proxy server สามารถทำงานร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของ gateway server เพื่อแยกระบบเครือข่ายของบริษัทออกจากเครือข่ายในอินเตอร์เน็ต และ firewall server ป้องกันการบุกรุกจากภายนอก

Proxy server เมื่อได้รับคำสั่งติดต่อกับอินเตอร์เน็ตจากผู้ใช้ จะทำการกรองความต้องการโดยมองหาใน cache ที่มีการ Download เว็บเพจไว้ เมื่อพบแล้วจะส่งไปให้ผู้ใช้ โดยไม่ต้องติดต่อกับอินเตอร์เน็ต แต่ถ้าไม่พบ Proxy server จึงจะส่งต่อคำสั่งไปยังอินเตอร์เน็ต

สำหรับผู้ใช้ Proxy server เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นการส่งคำสั่งและการตอบสนองจะปรากฏให้เห็นด้วย IP address

ข้อพิเศษของ Proxy server คือ เป็น cache สำหรับผู้ใช้ทุกคน ถ้า Internet site ที่มีการติดต่อบ่อย ๆ มักจะได้รับการเก็บไว้ใน cache ซึ่งช่วยลดเวลาในการตอบสนองผู้ใช้ โดยข้อเท็จจริงมีเครื่องแม่ข่ายเฉพาะเรียกว่า cache server แต่ Proxy server สามารถทำหน้าที่ได้ ฟังก์ชันของ Proxy firewall และ caching สามารถแยกโปรแกรมแม่ข่ายหรือรวมเป็นชุดเดียว ซึ่งถ้าเป็นคนละโปรแกรมจะสามารถแยกเครื่องแม่ข่ายเป็นคนละเครื่องได้

DNS (domain name system)

domain name system (DNS) เป็นวิธีการที่ domain name ของอินเตอร์เน็ตในการกำหนดและแปลเป็นตำแหน่งของ Internet Protocol ซึ่ง domain name มีความหมายและจำได้ง่ายสำหรับ internet address เนื่องจากการดูแลรายการส่วนกลางของ domain name หรือ IP address ที่ต่างกันจะมีผลในทางปฏิบัติ รายการของ domain name และ IP address ที่กระจายผ่านอินเตอร์เน็ตตามโครงสร้าง ในบางครั้ง DNS server มีความอ่อนไหวกับภูมิประเทศในการเข้าถึงเพื่อจับคู่ domain name กับ คำขออินเตอร์เน็ต หรือส่งผ่านไปยังเครื่องแม่ข่ายในอินเตอร์เน็ต

firewall

firewall เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่สัมพันธ์กันซึ่งติดตั้งที่ gateway server ของเครือข่ายเพื่อป้องกันทรัพยากรของเครือข่ายส่วนตัว จากผู้ใช้ภายนอกเครือข่าย (คำนี้นัยยะของนโยบายความปลอดภัยที่ใช้ในโปรแกรม) ผู้ประกอบการที่ใช้ Intranet ซึ่งยินยอมให้พนักงานไปยังอินเตอร์เน็ตสามารถติดตั้ง firewall เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกในการเข้าถึงทรัพยากร และข้อมูลของเครือข่ายภายใน และควบคุมแหล่งทรัพยากรภายนอกสำหรับผู้ใช้ภายใน

โดยพื้นฐานแล้ว firewall ทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรม router เพื่อกรองแพ็คเกต ในเครือข่ายทั้งหมดเพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง firewall สามารถรองรับหรือทำงานกับ proxy server

วิธีการคัดเลือกมีหลายวิธีใน firewall โดยมีวิธีพื้นฐานแบบหนึ่งคือคัดเลือกคำสั่งเพื่อทำให้มั่นใจว่ามาจาก domain name หรือ IP address ที่ยอมรับ สำหรับผู้ใช้ที่เคลื่อนที่ firewall ยินยอมให้เข้าถึงทางไกลมายังเครือข่ายส่วนตัวโดยให้ใช้การ logon เข้าสู่ระบบ

มีผลิตภัณฑ์ด้าน firewall จำนวนมาก มีส่วนประกอบรวมถึงการ logon การรายงาน สัญญาณเตือนอัตโนมัติ เมื่อมีการล่วงล้ำ และการควบคุมแบบ GUI

VPN (virtual private network)

virtual private network (VPN) เป็นเครือข่ายข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้ใช้โครงสร้างพื้นฐาน ของโทรคมนาคมสาธารณะ และรักษาความเป็นส่วนบุคคล โดยการใช้โปรโตคอล tunneling protocol และ procedure ของความปลอดภัย virtual private network สามารถแตกต่างจากระบบเจ้าของ หรือ leased line ที่สามารถใช้โดยบริษัทเดียว แนวคิดของ VPN เป็นการให้บริษัทมีความสามารถเหมือนเดิม ที่ต้นทุนต่ำลง โดยการใช้โครงสร้างสาธารณะร่วม แทนที่การใช้ส่วนตัว ผู้ให้บริการโทรศัพท์ ให้ความปลอดภัย ในการใช้ทรัพยากรร่วมสำหรับ voice message นอกจากนี้ virtual private network ทำให้มีความเป็นไปได้ ที่จะมีความปลอดภัย ในการใช้ทรัพยากรสาธารณะสำหรับข้อมูล ในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ กำลังใช้เครือข่ายส่วนบุคคลสำหรับ extranet และ intranet การใช้ virtual private network เกี่ยวข้องกับการ encrypt ข้อมูลก่อนการส่งผ่านเครือข่ายสาธารณะ และ decrypt เมื่อถึงปลายทางด้านรับ การเพิ่มระดับความปลอดภัย นอกจากจะ encrypt ข้อมูลแล้ว ต้องรวมถึง network address ของผู้ส่งและผู้รับ Microsoft, 3COM และบริษัทอื่น ๆ หลายบริษัท ได้พัฒนา Point-to-Point Tunneling Protocol (PPTP) และ Microsoft ได้ขยาย Windows NT ให้สนับสนุน ซอฟต์แวร์ VPN ตามปกติจะได้รับการติดตั้งเป็นหนึ่งของ firewall server ของบริษัท

VoIP (voice over IP)

VoIP (voice over IP คือ การส่งผ่านเสียงด้วยการใช้ Internet Protocol) เป็นคำใช้ใน IP telephony (โทรศัพท์ผ่าน IP) สำหรับชุดของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับจัดการส่งสารสนเทศเสียงด้วยการใช้ Internet Protocol (IP) โดยทั่วไป สิ่งนี้หมายถึงการส่งสารสนเทศเสียงในรูปแบบดิจิตอลในแพ็คเกต discrete แทนที่โปรโตคอล circuit-committed แบบดั้งเดิมของเครือข่ายแบบ public switched telephone network (PSTN) ข้อได้เปรียบหลักของ VoIP และ Internet telephony (โทรศัพท์อินเตอร์เน็ต) เป็นการหลีกเลี่ยงค่าบริการสูงของโทรศัพท์แบบเดิม

VoIP ที่มีการใช้โดยทั่วไป มาจากฟอรัม VoIP ด้วยความพยายามโดยผู้ผลิตอุปกรณ์รายใหญ่ ได้แก่ Cisco, VocalTec, 3Com และ Netspeak เพื่อส่งเสริมการใช้ ITU-T H.323 ที่เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งเสียง (ออดิโอ) และวิดีโอ ด้วยการใช้ IP บนอินเตอร์เน็ตสาธารณะและภายในอินทราเน็ต รวมทั้งฟอรัมนี้ส่งเสริมผู้ใช้ของมาตรฐานบริการไดเรคทอรี ดังนั้นผู้ใช้สามารถหาผู้ใช้อื่นและการใช้สัญญาณ touch-tone สำหรับการกระจายการเรียกอัตโนมัติและ voice mail

นอกจาก IP แล้ว VoIP ใช้ real-time protocol (RTP) เพื่อช่วยทำให้มั่นใจว่าแพ็คเกตได้ส่งผ่านตามเวลา การใช้เครือข่ายสาธารณะ มีความลำบากในการประกันคุณภาพของเสียง (Quality of Service หรือ QoS) ในปัจจุบัน การบริการดีกว่าคือ การใช้เครือส่วนบุคคลที่จัดการโดยองค์กรธุรกิจหรือโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์อินเตอร์เน็ต (Internet telephony service provider หรือ ITSP)

เทคนิคการใช้โดยอย่างน้อยผู้ผลิตรายหนึ่ง Adir Technologies (เดิมคือ Netspeak) เพื่อช่วยทำให้มั่นใจการส่งแพ็คเกตเร็วกว่าคือการใช้ ping เพื่อติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ gateway ทั้งหมดที่ได้เข้าถึงเครือข่ายสาธารณะและเลือกเส้นทางเร็วที่สุดก่อนก่อตั้งการเชื่อมต่อซอคเก็ต Transmission Control Protocol (TCP) กับอีกปลาย

การใช้ VoIP การติดตั้ง “อุปกรณ์ VoIP” ที่ gateway โดย gateway ได้รับแพคเก็ตการส่งผ่านเสียงจากผู้ใช้ภายในบริษัท แล้วจัดเส้นทางไปยังส่วนอื่นของอินทราเน็ต (เครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายพื้นที่กว้าง) หรือใช้ระบบ T-carrier หรืออินเตอร์เฟซ E-carrier ส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ

ARPA Net

ARPANet เป็นเครือข่ายที่กลายมาเป็นพื้นฐานของอินเตอร์เน็ต เครือข่ายนี้ได้รัยบการสนับสนุนทางการเงินกองทัพสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อิสระที่ติดต่อโดยผ่านสาย Leased line และใช้ระบบ packet switching

ARPANet ได้รับการแทนที่ในช่วงทศวรรษ 1980 โดยแบ่งเป็นเครือข่ายทางทหาร เครือข่ายข้อมูลกลาโหม และ NSFNet เป็นเครือข่ายทางวิทยาศาสตร์ และสถาบันการศึกษา ที่สนับสนสุนทางการเงินโดย National Science Foundation ในปี 1995 NSFNet ได้เปลี่ยนมาเป็น backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยการดูแลของ Consortium ของผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์ ( PSINet, UUNET, ANS/AOL, Sprint, MCI และ AGIS-Net 99)

Internet Telephony

telephony เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการส่งผ่านด้านอีเลคโทรนิคส์ของเสียง fax และสารสนเทศอื่น ระหว่างผู้ใช้ที่ใช้ระบบที่เกี่ยวของกับโทรศัพท์ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยลำโพงหรือตัวส่งกับเครื่องรับ จากการเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์ และการส่งสารสนเทศดิจิตอล ผ่านระบบโทรศัพท์ และการใช้วิทยุในการส่งสัญญาณโทรศัพท์ การแยกระหว่างโทรศัพท์และโทรคมนาคม ทำให้ยากที่จะพบ อย่างไรก็ตาม telephony หมายถึง เสียงหรือการพูด และการได้ยินสารสนเทศ ซึ่งมักจะเป็นการติดต่อแบบ point - to - point รวมถึงการติดต่อเป็นแบบชั่วคราว

internet telephony เป็นการใช้อินเตอร์เน็ต แทนที่การใช้โครงสร้างพื้นฐานของโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และโครงสร้างอัตราในการแลกเปลี่ยน หรือสารสนเทศทางโทรศัพท์อื่น เนื่องจกการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทำให้โทรศัพท์เฉพาะพื้นที่ หรือทางไกล ถูกกว่าการโทรศัพท์แบบดั้งเดิม

บนอินเตอร์เน็ต มีบริการใหม่ 3 แบบ ในปัจจุบัน หรืออนาคตอันใกล้
- ความสามารถในการสร้างการโทรศัพท์ปกติ
- ความสามารถในการส่ง fax ด้วยราคาต่ำ ผ่าน gateway บนอินเตอร์เน็ตในเมืองใหม่
- ความสามารถในการฝาก voice mail สำหรับหมายเลขที่เรียก

บางบริษัท ได้สร้างผลิตภัณฑ์ หรือวางแผน ที่ให้ความสามารถเหล่านี้ได้แก่ IDT corporation (Net 2 phon), netspeak, NetXCharge, Rockwell International, VocalTec และ VoxSpeak แผนการใช้เหล่านี้สำหรับการบริการ internet phone เป็นการเรียกไปยังผู้ที่เป็นลูกค้าบน web site ปัจจุบันสามารถเพิ่มความสามารถโทรศัทพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเพิ่ม telephone board ในราคาต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐ ที่ได้รวมหน้าที่ของโมเด็ม sound board, ลำโพง และระบบ voice mail

Telephony API (application program interface) เป็นการให้จาก Microsoft และ Intel ที่ยินยอมให้โปรแกรมประยุกต์ ลูกข่าย Windows ในการเข้าถึงการบริการเสียงบนเครื่องแม่ข่ายและ การติดต่อภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และระบบโทรศัพท์

Internet Relay Chat

Internet Relay Chat (IRC) เป็นระบบ chat ที่รวมถึง กฎ แบบแผน และซอฟต์แวร์ client/server บนเว็บ เช่น web site ของ TalkCity หรือเครือข่าย IRC เช่น Undernet มีเครื่องแม่ข่าย ให้ดาวน์โหลดโปรแกรม IRC client มาที่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของ home page จากนั้นจึงเริ่มการ chat ผ่าน IRC

การเริ่มต้นกลุ่ม chat (เรียกว่า channel ) หรือ เข้าร่วมกับกลุ่มอื่น มีโปรโตคอลสำหรับค้นหากลุ่ม chat และสมาชิก การใช้ชื่อเล่นสามารถเก็บ หรือลงทะเบียนได้ หรือใช้เฉพาะครั้ง ขึ้นกับประเภทเครือข่ายบาง channel ให้ผู้ใช้ลงทะเบียนชื่อเล่น และให้พื้นที่สำหรับประวัติส่วนบุคคล รูป และการเชื่อม home page ส่วนตัว

โปรแกรม IRC client ที่นิยมได้แก่ MIRC สำหรับ Windows, IRCLE สำหรับ Mac OS และ IRC 2 สำหรับระบบปฏิบัติ UNIX

โปรโตคอล ของ IRC คือ TCP (Transmission Control Protocol) และ พอร์ต 6667

hypertext

hypertext เป็นการจัดการหน่วยสารสนเทศในการติดต่อ ที่ผู้ใช้เลือกสำหรับสร้าง โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับการเชื่อม (Link ) หรือ hypertext link

hypertext เป็นแนวคิดหลักในการนำไปสู่การคิดค้น World Wide Web ซึ่งไม่มีอะไรมากกว่าสารสนเทศ จำนวนมหาศาล ที่เชื่อมต่อโดย hypertext link จำนวนมาก

คำนี้ใช้ครั้งแรกโดย Ted Nelson ในการอธิบายระบบ Xanadu ของเขา

extranet

extranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวที่ใช้ internet protocol และระบบการสื่อสารสาธารณะที่มีความปลอดภัยในการแบ่งส่วนของสารสนเทศ หรือ การปฏิบัติงานของบริษัทกับผู้ขายสินค้า หุ้นส่วน ลูกค้า หรือธุรกิจอื่น extranet สามารถมองเห็นส่วนของ internal ที่มีขยายไปสู่ผู้ใช้ภายนอกบริษัท ซึ่งสามารถให้คำจำกัดความเป็น "สถานะของภายใน" ในขณะที่อินเตอร์เน็ตได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอื่น และการขายสินค้าให้ลูกค้า โดยใช้ประโยชน์จาก HTML, Hypertext Transfer Protocol (HTTP) , Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และเทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตที่ได้นำเข้าสู่อินเตอร์เน็ต หรือ intranet ที่ดูเหมือนได้รับการออกแบบในเชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจต่างๆ extranet ต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ทำให้ต้องการ firewall server ในการบริหารการจ่ายและใช้ของ digital certificate หรือวิธีคล้ายกันของ user authentication, การเข้ารหัส (encryption) ข่าวสาร และการใช้เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (virtual private network) ที่เป็นช่องทางในเครือข่ายสาธารณะ

บริษัท สามารถใช้ extranet ดังนี้
- แลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากโดยใช้ electronic data interchange (EDI)
- การใช้แคตตาล๊อคสินค้าร่วมกันเฉพาะผู้ค้าส่ง หรือ ในระหว่างการขาย
- การร่วมมือกับบริษัทอื่นในการพัฒนางานร่วมกัน
- ให้ หรือเข้าถึงการบริการโดยบริษัทหนึ่งไปที่กลุ่มของบริษัทอื่น เช่น online banking
- ให้ข่าวร่วมกัน ของความสนใจร่วมเฉพาะภายในหุ้นส่วน

Netscape, Oracle และ Sun Microsystems ได้ประกาศเป็นพันธมิตรในการสร้างความมั่นใจของผลิตภัณฑ์ extranet ให้สามารถทำงานร่วมกันโดยมาตรฐานของ Java Script และ Common Object Request Broker Architecture (CORBA) Microsoft สนับสนุน Point-to-point Tunneling Protocol และกำลังทำงานกับ American express และบริษัทอื่น ๆ ใน มาตรฐาน Open Buying on the Internet (OBI) ส่วน Lotus กำลังส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ Group ware

Intranet

Intranet เป็นเครือข่ายส่วนตัวของหน่วยธุรกิจที่ประกอบด้วยการเชื่อมต่อภายใน และสามารถ ใช้ lease line ในเครือข่ายแบบ WAN ตามปกติ intranet รวมถึงการติดต่อผ่าน gateway ไปยังระบบอินเตอร์เน็ตภายนอก จุดประสงค์หลักของ intranet อยู่ที่การใช้สารสนเทศภายในบริษัท และทรัพยากรของระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างพนักงาน intranet สามารถใช้ในการทำงานเป็นกลุ่มหรือการประชุมทางไกล (Teleconference)

Intranet ใช้ TCP/IP, HTTP และโปรโตคอลของอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ และเปรียบได้เป็นเวอร์ชันของอินเตอร์เน็ต ด้วยช่องทางดังกล่าว บริษัทสามารถส่งข้อความภายในผ่านเครือข่ายสาธารณะ โดยระบบความปลอดภัยพิเศษ ให้ไปยังอีกของระบบ intranet

ตามปกติหน่วยงานขนาดใหญ่ยินยอมให้ผู้ใช้ภายใน intranet ติดต่อไปยังภายนอกโดยใช้การกลั่นกรองของ firewall ส่งการส่งออกและนำเข้า เมื่อส่วนใดของ intranet สามารถไปดึงลูกค้า หุ้นส่วน ผู้ขายสินค้า หรือบุคคลอื่น ภายนอกบริษัท ส่วนนั้นเรียกว่า Extranet

IPv6 (Internet Protocol version 6)

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า "IPng" (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ

การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ

- ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น
- ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง
- แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง
- ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับ

internet

internet เป็นระบบ Worldwide ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีจุดกำเนิดจากแนวคิดของ Advanced Research Project Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐในปี 1969 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อก่อตั้งเครือข่ายที่ให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิจัยของมหาวิทยาลัยหนึ่ง สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิจัยของมหาวิทยาลัยอื่น ผลจากการออกแบบของ ARPA net ทำให้ข้อความสามารถส่งเส้นทางหรือเปลี่ยนทางใหม่ได้มากกว่า 1 ทิศทาง และเครือข่ายยังสามารถทำงานได้ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนถูกทำลายไปทั้งจากทางด้านทหาร หรือภัยธรรมชาติ

ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเป็นระบบสาธารณะ ที่รองรับการใช้งานอย่างกว้างขวาง ในด้านกายภาค อินเตอร์เน็ตใช้ช่องทางการติดต่อผ่านระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ในทางเทคนิคอินเตอร์เน็ตใช้กลุ่มของโปรโตคอลเรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) โดยมีการปรับปรุงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไปใช้แบบ Intranet และ Extranet ซึ่งยังคงใช้ โปรโตคอลของ TCP/IP

การใช้งานอินเตอร์เน็ตในส่วนของ e-mail ได้รับการใช้อย่างกว้างขวางแทนที่การส่งจดหมายด้วยการเขียน นอกจากนี้ยังสามารถ "สนทนา" กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่าน Internet Relay Chat รวมถึงเทคโนโลยี "Internet Telephony" ที่สามารถสนทนาโดยตรง ส่วนที่มีการใช้อย่างกว้างขวางของอินเตอร์เน็ตคือ World Wide Web (www) มีส่วนที่โดดเด่นคือ hypertext ซึ่งเป็นวิธีการในการอ้างอิงแบบทันที ในเว็บส่วนใหญ่จะกำหนดข้อความของ Hypertext ให้แตกต่างด้วยชนิดตัวอักษร สี แต่ที่นิยมมากคือการตีเส้นใต้ เมื่อเลือกข้อความนั้นแล้ว จะมีการส่งข้อมูลจากเว็บหรือเพ็จที่เชื่อมต่อกับข้อความมาให้ ในบางครั้งปุ่มหรือภาพ สามารถคลิกได้เช่นกัน โดยสังเกตที่เมาส์ถ้ามีการเปลี่ยนเป็นรูปมือ แสดงว่าตำแหน่งหรือข้อความดังกล่าว สามารถเชื่อมต่อกับเว็บหรือเพ็จได้

การเข้าถึงเว็บทำได้โดยการใช้ web browser ซึ่งที่ได้รับความนิยมคือ Netscape Navigator และ Microsoft Internet Explorer

POP3 (Post Office Protocol3)

POP3 (Post Office Protocol3) เป็นเวอร์ชันล่าสุดขอมาตรฐานโปรโตคอล สำหรับการรับ e-mail โดย POP3 เป็นโปรโตคอล client/sever ที่รับ e-mail แล้วจะเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย Internet เมื่อผู้ใช้ตรวจสอบ mail-box บนเครื่องแม่ข่ายและ ดาวน์โหลดข่าวสาร POP3 ติดมากับ Net manager suite ของผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต และ e-mail ที่ได้รับความนิยมคือ Eudora และติดตั้งอยู่ใน browser ของ Netscope และ Microsoft Internet Explorer

โปรโตคอลตัวเลือกอีกแบบ คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) โดยการใช้ IMAP ผู้ใช้จะดู e-mail ที่เครื่องแม่ข่าย เหมือนกับอยู่ในเครื่องลูกข่าย และ e-mail ในเครื่องลูกข่ายที่ถูกลบ จะยังคงมีอยู่ในเครื่องแม่ข่าย โดย e-mail สามารถเก็บและค้นหาที่เครื่องแม่ข่าย

POP สามารถพิจารณาเป็นการบริการแบบ "store-and forward" IMAP สามารถพิจารณาเครื่องแม่ข่าย remote file server

POP และ IMAP เกี่ยวข้องกับการรับ e-mail และอย่าสับสนกับ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ซึ่งเป็นโปรโตคอล สำหรับการส่ง e-mail ข้ามอินเตอร์เน็ต การส่ง e-mail ใช้ SMTP และการอ่านใช้ POP3 หรือ IMAP

หมายเลขและพอร์ต สำหรับ POP3 คือ 110

POP (point-of-presence)

point-of-presence เป็นจุดการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต pop จำเป็นต้องมี Internet Protocol (IP) address ที่ไม่ซ้ำ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) หรือ PSP จะมีจุด POP บนอินเตอร์เน็ตและบางครั้งมากกว่า 1 จุด จำนวนของ POP ที่ ISP หรือ OSP มีในบางครั้งใช้วัดขนาดหรืออัตราการเติบโต POP อาจจะเป็นพื้นที่ ซึ่งเช่ามาจาก ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่อให้ ISP เชื่อมต่อ POP ต้องมีอุปกรณ์ ได้แก่ router, digital/analog call aggregator, เครื่องแม่ข่าย และ frequently frame relay หรือ ATM switches

IMAP (Internet Message Access Protocol)

Internet Message Access Protocol (IMAP) เป็นมาตรฐานโปรโตคอล สำหรับการเข้าถึง e-mail จากเครื่อง local service โดย IMAP เป็นโปรโตคอลแบบ client/service ซึ่ง e-mail จะได้รับและเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถดูหัวข้อ และผู้ส่งของจดหมายแล้ว จึงตัดสินใจดาวน์โหลด ผู้ใช้สามารสร้างและควบคุมโฟลเดอร์ หรือ mail box บนเครื่องแม่ข่าย ลบจดหมายหรือค้นหา IMAP ต้องการเข้าถึงแม่ข่ายอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการใช้ e-mail

โปรโตคอล ที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า คือ Post Office Protocol 3 (POP 3) การใช้ POP 3 ทำให้ e-mail ของผู้ใช้ได้รับการเก็บไว้ใน mail box บนเครือข่าย เมื่อต้องการอ่าน e-mail สามารถทำการดาวน์โหลด มายังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และไม่จำเป็นต้องเก็บไว้บนแม่ข่าย

IMAP สามารพิจารณาเป็น remote file server ส่วน POP สามารถพิจารณาเป็นการบริการแบบ "เก็บ และ ส่ง "

POP และ IMAP เกี่ยวข้องกับการรับ e-mail ของผู้ใช้ในเครื่อง local server และอย่าสับสนกับ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ซึ่งเป็นโปรโตคอลสำหรับการส่ง e-mail ระหว่างจุดบนอินเตอร์เน็ต การส่ง e-mail ใช้ SMTP การอ่าน e-mail ใช้ POP และ IMAP

FTP (File Transfer Protocol)

FTP (File Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการแลกเปลี่ยนไฟล์ ระหว่างคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ต คล้ายกับ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ที่ใช้ในการส่งเว็บเพ็จและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ที่ใช้ส่งผ่าน e-mail ซึ่ง FTP เป็นโปรโตคอลประยุกต์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP โดย FTP ใช้ในการส่งไฟล์เว็บเพจจากแหล่งที่เก็บไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแสดงฐานะเป็นเครื่องแม่ข่าย สำหรับทุกคนบนอินเตอร์เน็ต และนิยมใช้ในการ download โปรแกรมและไฟล์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่ข่ายอื่น

ในฐานะผู้ใช้ การใช้ FTP สามารถใช้คำสั่งติดต่อแบบ command line (เช่นเดียวกับคำสั่งของ MS_DOS) web browser สามารถสร้างคำขอ FTP เพื่อ download โปรแกรมที่เลือกจากเว็บเพจนอกจากนี้ FTP สามารถใช้ปรับปรุงไฟล์บนเครื่องแม่ข่าย โดยต้อง logon ไปที่ FTP server การสนับสนุน FTP โดยพื้นฐานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งโปรแกรมที่มากับ TCP/IP อย่างไรก็ตามโปรแกรม FTP แบบ client ที่มีการติดต่อแบบ GUI ต้อง download จากบริษัทที่ผลิต

OSPF (Open Shortest Path First)

OSPF (Open Shortest Path First) เป็นโปรโตคอล router ใช้ภายในเครือระบบอัตโนมัติที่นิยมใช้ Routing Information Protocol แลโปรโตคอล router ที่เก่ากว่าที่มีการติดตั้งในระบบเครือข่าย OSPF ได้รับการออแบบโดย Internet Engineering Task Force (IETF) เหมือนกับ RIP ในฐานะของ interior gateway protocol

การใช้ OSPF จะทำให้ host ที่ให้การเปลี่ยนไปยังตาราง routing หรือปกป้องการเปลี่ยนในเครือข่ายทันที multicast สารสนเทศไปยัง host ในเครือข่าย เพื่อทำให้มีสารสนเทศในตาราง routing เดียวกัน แต่ต่างจาก RIP เมื่อตาราง routing มีการส่ง host ใช้ OSPF ส่งเฉพาะส่วนที่มีการเปลี่ยน ในขณะที่ RIP ตาราง routing มีการส่ง host ใกล้เคียงทุก 30 วินาที OSPF จะ multicast สารสนเทศที่ปรับปรุงเฉพาะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

OSPF ไม่ใช้การนับจำนวนของ hop แต่ใช้เส้นทางตามรายละเอียด "line state" ที่เป็นส่วนสำคัญเพิ่มขึ้น ในสารสนเทศของเครือข่าย OSPF ให้ผู้ใช้กำหนด cost metric เพื่อให้ host ของ router กำหนดเส้นทางที่พอใจ OSPF สนับสนุน subnet mask ของเครือข่าย ทำให้เครือข่ายสามารถแบ่งย่อยลงไป RIP สนับสนุนภายใน OSPF สำหรับ router-to-end ของสถานีการสื่อสาร เนื่องจากเครือข่ายจำนวนมากใช้ RIP ผู้ผลิต router มีแนวโน้มสนับสนุน RIP ส่วนการออกแบบหลักคือ OSPF

สารสนเทศเพิ่มเติม

IETF Network Working Group : Request for Comments 2178, description of OSPF Version 2.
Cisco : An illustrated paper about the Open Shortest Path First (OSPF) protocol.

SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)

Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) เป็นโปรโตคอล ของ TCP/IP ใช้ในการส่งและรับ E-mail แต่ SMTP มีความจำกัดในด้านแถวคอย (Queue) ของ message ในด้านรับ ตามปกติจะใช้ร่วมกับโปรโตคอลอื่นอีกตัว เช่น POP3 หรือ Internet Message Access Protocol เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเก็บเมล์ไว้ใน server mailbox และ ดาวน์โหลดจาก server ในอีกความหมาย คือ SMTP ใช้สำหรับการส่งเมล์ของผู้ใช้ และ POP3 หรือ IMAP ใช้สำหรับเมล์แล้ว เก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย โปรแกรม E-mail ส่วนใหญ่ เช่น Eudora ให้ผู้ใช้ระบุได้ทั้ง SMTP server และ POP Server บนระบบ UNIX การส่งเมล์ใช้ SMTP server ส่วนแพ็คเกตการส่งเมล์เชิงพาณิชย์ได้รวม POP server และมาพร้อมกับ Window NT

SMTP ได้รับสนับสนุนให้กำกับพอร์ต 25 ของ Transmission Control Protocol รายละเอียดของ SMTP อยู่ใน Request for Comment 821 ของ Internet Engineering Task Force (IETF) ตัวเลือกอื่นนอกจาก SMTP คือ X.400 ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางในยุโรป

สารสนเทศเพิ่มเติม

RFC 821 : RFC 821, Simple Mail Transfer Protocol.
SMTP : SMTP Protocol Overview
SMTP FAQ : A Mini-FAQ on client/server mail protocols.

ICMP (Internet Control Massage Protocol)

ICMP (Internet Control Massage Protocol) เป็นโปรโตคอลควบคุมและรายงานความผิดพลาดระหว่าง host server กับ gateway บนอินเตอร์เน็ต ICMP ใช้ตารางข้อมูลของ Internet Protocol แต่การสร้างข้อความทำโดยซอฟต์แวร์ของ IP และไม่ปรากฏโดยตรงกับผู้ใช้

สารสนเทศเพิ่มเติม

RFC 1812 : Requirements for IP Version 4 Routers.
RFC 792 : RFC 792
ICMP : The Internet Control Message Protocol (ICMP).

EGP (Exterior Gateway Protocol)

Exterior Gateway Protocol (EGP) เป็นโปรโตคอล สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ router ระหว่าง 2 เครือข่ายของ gateway host ในระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติ ซึ่ง EGP มีการใช้โดยทั่วไป ระหว่าง host บนอินเตอร์เน็ต เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศของตาราง routing โดยตาราง routing ประกอบด้วยรายการ router ตำแหน่งที่ตั้ง และเมทริกของค่าใช้จ่ายของแต่ละ router เพื่อทำให้สามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กลุ่มของ router แต่ละกลุ่มจะใช้เวลาภายใน 120 วินาที ถึง 480 วินาที ในการส่งข้อมูลส่งตาราง routing ทั้งหมดไปยังเครือข่ายอื่น ซึ่ง EGP -2 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ EGP

ส่วน Exterior Gateway Protocol แบบล่าสุดคือBorder Gateway Protocol (BGP) ซึ่งมีความสามารถเพิ่มขึ้น

สารสนเทศเพิ่มเติม

ACC.Com : Internet (IP) Routing Protocols.
Bay Networks : Internet Protocol (IP)

IGP (Interior Gateway Protocol)

IGP (Interior Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ routing ระหว่าง gateway (หรือ host ที่มี router) ภายในระบบเครือข่ายอัตโนมัติ ข้อมูลและสารสนเทศของ routing สามารถใช้ได้โดย Internet Protocol หรือโปรโตคอลแบบอื่นที่มีการระบุการส่งผ่านของ router ลักษณะการใช้ IGP โดยทั่วไปมี 2 ประเภทคือ Routing Information Protocol และ Open Shortest Part First (OSPF) Protocol

สารสนเทศเพิ่มเติม

Bay Networks : Internet Protocol (IP)
Cisco : Open Shortest Path First (OSPF)

BGP (Border Gateway Protocol)

Border Gateway Protocol (BGP) เป็นโปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลของเส้นทางระหว่าง gateway host (ซึ่งแต่ละที่จะมี router ของตัวเอง) ในเครือข่ายแบบอัตโนมัติ BGP มักจะได้รับการใช้ระหว่าง gateway host บนระบบอินเตอร์เน็ต ตาราง routing ประกอบด้วยรายการของ router ตำแหน่งและตารางค่าใช้จ่าย (cost metric) ของเส้นทางไปยัง router แต่ละตัว เพื่อการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด

host ที่ใช้การติดต่อด้วย BGP จะใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และส่งข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วของตาราง router เฉพาะ host ที่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง จึงมีผลเฉพาะส่วนของตาราง router ที่ส่ง BGP-4 เป็นเวอร์ชันล่าสุด ซึ่งให้ผู้บริหารระบบทำการคอนฟิก cost metric ตามนโยบาย

การติดต่อด้วย BGP ของระบบ แบบอัตโนมัติที่ใช้ Internet BGP (IBGP) จะทำงานได้ไม่ดีกับ IGP เนื่องจาก router ภายในระบบอัตโนมัติต้องใช้ตาราง routing 2 ตาราง คือ ตารางของ IGP (Internet gateway protocol) และตารางของ IBGP

BGP เป็นโปรโตคอลที่ทันสมัยกว่า Exterior Gateway Protocol

สารสนเทศเพิ่มเติม

Ericsson's Access Products Unit : Internet (IP) Routing Protocols.
Bay Networks : Internet Protocol (IP)
Cisco : Border Gateway Protocol.

IP (Internet Protocol)

IP (Internet Protocol) เป็นวิธีการ (protocol) ที่ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ในอินเตอร์เน็ต (Internet) คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง รู้จักกันในฐานะของ Host บน Internet ต้องมีที่อยู่อย่างน้อยหนึ่งที่อยู่ (address) ซึ่งไม่ซ้ำกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใน Internet เมื่อมีการส่งและรับข้อมูล (เช่น อี-เมล์) ข้อความจะถูกแบ่งเป็นชุดข้อมูล เรียกว่า แพ็คเกต (Packet) แต่ละชุดจัดจะเก็บที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ การส่งชุดข้อมูลจะส่งไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Gateway เมื่อเครื่อง Gaterway อ่านที่อยู่ของปลายทางแล้ว จึงส่งต่อชุดข้อมูลไปยัง adjacent Gateway ซึ่งจะอ่านที่อยู่ปลายทาง และส่งอ่านเครือข่าย Internet จนกระทั่งมีเครื่อง gateway รู้ว่าชุดข้อมูลนั้น เป็นของคอมพิวเตอร์ ภายในกลุ่มใด จากนั้น เครื่อง Gateway จึงจะส่งชุดข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตามที่ระบุ

จากการที่ข้อมูลได้รับเป็นชุดข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยการส่งอาจจะใช้การแยกส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ข้ามเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (จากการส่งโดยการแยกข้อมูลเป็นชุดข้อมูล) เมื่อไปถึงปลายทาง อาจจะมีลำดับที่ไม่ตรงกับลำดับจากต้นทาง ดังนั้น IP จะส่งต่อไปยัง TCP (Transmission Control Protocol) เพื่อจัดเรียงลำดับใหม่ให้ถูกต้อง IP เป็น โปรโตคอลแบบ Connection less หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างการเชื่อมต่อกับจุดปลายในระหว่างการสื่อสาร แต่ละชุดข้อมูลเดินทางโดยอิสระในระบบอินเตอร์เน็ต ปราศจากความเกี่ยวข้องกับชุดข้อมูลอื่น ๆ (เพราะหน้าที่ในการจัดลำดับที่ถูกเป็นของ TCP ซึ่งเป็น Protocol แบบ connection-oriented ที่ทำหน้าที่รักษาลำดับชุดข้อมูล ของข้อความหรือข้อมูลนั้น) ในแบบจำลองการสื่อสาร OSI (Open System Interconnection communication model) IP เป็นเลเยอร์ 3 คือ เลเยอร์เครือข่าย (Networking Layer)

IP ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในขณะนี้คือ Internet Protocol version 4 (IPV4) อย่างไรก็ตาม IPV6 กำลังเริ่มมีการใช้ IPV6 มีที่อยู่ที่ยาวกว่า ทำให้รองรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ทได้มากขึ้น ซึ่ง IPV6 ได้รวมเอาความสามารถของ IPV4 ไว้ด้วย ดังนั้นเครื่อง Server ที่สนับสนุนชุดข้อมูลของ IPV6 จะสามารถสนับสนุน IPV4 ด้วย

สารสนเทศเพิ่มเติม

Internet Engineering Task Force, Request for Comments (RFC) 791 : The official Internet Protocol specification.
Cisco : IP Overview.
IBM : TCP/IP Tutorial and Technical Overview
Senet.com : TCP/IP Overview

TCP (Transmission Control Protocol)

TCP (Transmission Control Protocol) ใช้ Internet Protocol (IP) เพื่อส่งข้อมูลในรูปแบบของข่าวสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ต โดย IP ดูแลการควบคุมการส่งข้อมูลที่แท้จริง TCP ดูแลการรักษาเส้นทางของหน่วยข้อมูลแต่ละชุด (เรียกว่า แพ็คเกต - Packets) ซึ่งข้อความจะถูกแบ่งออก เพื่อการใช้ประสิทธิภาพของเส้นทางบนอินเตอร์เน็ต เช่น เมื่อมีการส่งไฟล์ HTML ออกจาก web server ไปที่จุดหมายปลายทาง โปรแกรมเลเยอร์ของ TCP จะแบ่งไฟล์นั้นเป็นหนึ่งชุดหรือมากกว่า หมายเลขของชุดข้อมูลแล้วส่งต่อข้อมูลแต่ละชุดไปที่โปรแกรมเลเยอร์ของ IP ถึงแม้ว่าแต่ละชุดข้อมูลมีปลายทางที่ IP address เดียว แต่ชุดข้อมูลอาจจะเลือกเส้นทางที่ต่างกันบนเครือข่าย เพื่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง TCP จะประกอบชุดข้อมูลแต่ละชุดให้ครบแล้วจึงประกอบข้อมูลเป็นไฟล์เดียว

TCP เป็น protocol ที่รู้จักในลักษณะ connection-oriented protocol หมายถึง การติดต่อจะถูกสร้างขึ้น และรักษาการแลกเปลี่ยน เช่น การส่งข้อความระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของแต่ละด้าน TCP รับผิดชอบสำหรับในการจัดแบ่งข้อความเป็นชุดข้อมูล และประกอบชุดข้อมูลให้เป็นข้อความเหมือนเดิม เมื่อไปถึงปลายทาง DOS แบบจำลอง OSI (Open Systems Interconnection Communication model) TCP อยู่ในเลเยอร์ที่ 4 คือ เลเยอร์การส่ง (Transport Layer)

TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ

TCP/IP เป็นโปรแกรม 2 เลเยอร์ TCP (Transmission Control Protocol) เป็นเลเยอร์ที่สูงกว่า ทำหน้าที่จัดการแยกข้อความหรือไฟล์แลปรกอบให้เหมือนเดิม IP (Internet Protocol) เป็นเลเยอร์ที่ต่ำกว่า ทำหน้าที่จัดการส่วนของที่อยู่ของแต่ละชุดข้อมูล เพื่อทำให้มีปลายทางที่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway บนเครือข่ายจะตรวจที่อยู่นี้เพื่อหาจุดหมายในการส่งข้อความ ชุดข้อมูลอาจจะใช้เส้นทางไปยังปลายทางต่างกัน แต่ทั้งหมดจะได้รับการประกอบใหม่ที่ปลายทาง

TCP/IP ใช้ในแบบ client/server ในการสื่อสาร (ระหว่างคอมพิวเตอร์) ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (client) เป็นผู้ขอและการบริการได้รับจากคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายในระบบเครือข่าย การสื่อสารของ TCP/IP เป็นแบบจุดต่อจุด (point -to- point) หมายความว่าการสื่อสารแต่ละครั้งเกิดจากจุดหนึ่ง (เครื่อง host เครื่องหนึ่ง) ไปยังจุดอื่นหรือเครื่อง host เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP และโปรแกรมประยุกต์ระดับสูงอื่น ที่ใช้ TCP/IP สามารถเรียกว่า "Stateless" เพราะการขอแต่ละ client ได้รับการพิจารณาเป็นการขอใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับการขอเดิม (แต่แตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์) การที่เป็นพาร์ทของเครือข่ายอิสระแบบ "Stateless" ดังนั้นทุกคนสามารถใช้พาร์ทได้อย่างต่อเนื่อง (หมายเหตุ เลเยอร์ของ TCP จะไม่ "Stateless" ถ้ายังทำการส่งข้อความใดข้อความหนึ่ง จะทำการส่งจนกระทั่งชุดข้อมูลนั้นได้รับครบชุด)

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนมากคุ้นเคยกับการประยุกต์เลเยอร์ระดับสูง โดยใช้ TCP/IP เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ท ทั้งนี้รวมถึง World Wide Web's Hypertext Transfer Protocol (HTTP), File Transfer Protocol (FTP) ซึ่งในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol เหล่านี้ จะเป็นชุดเดียวกับ TCP/IP ในลักษณะ "Suite" เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มักจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ผ่าน Serial Line Internet Protocol (SLIP) หรือ Point-To-Point Protocol (PPP) โปรโตคอล แบบนี้จะควบคุมชุดข้อมูลของ IP ดังนั้น จึงสามารถใช้ส่งผ่านการติดต่อด้วยสายโทรศัพท์ ผ่านโมเด็ม Protocol ที่สัมพันธ์กับ TCP/IP ได้แก่ User Datagram Protocol (UDP) สำหรับใช้แทน TCP/IP ในกรณีพิเศษ ส่วนโปรโตคอลอื่นที่ใช้โดยเครื่อง host ของเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับ router ได้แก่ Internet Control Message Protocol (ICMP) Interior Gateway Protocol (IGP) Exterior Gateway Protocol (EGP) และ Border Gateway Protocol (BGP)

HTTP (Hypertext Transfer Protocol)

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นกลุ่มของกฎสำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ (เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ) บน World Wide Web ที่สัมผัสกับชุดโปรโตคอลแบบ TCP/IP (ซึ่งทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต) โดย HTTP เป็นโปรโตคอลแบบประยุกต์ แนวคิดสำคัญของ HTTP คือไฟล์ต่าง ๆ สามารถเก็บการอ้างอิงไฟล์อื่น เพื่อเรียกหรือดึงไฟล์ที่ต้องการ ใน Web server ที่มีไฟล์ HTML และไฟล์อื่นที่เรียกว่า HTTP daemon ซึ่งเป็นโปรแกรมได้รับการออกแบบให้คอยรับและรักษาการขอ HTTP เมื่อการขอของ HTTP นั้นมาถึง ใน web browser ของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะเป็น HTTP client เพื่อส่งการขอไปยังเครื่องแม่ข่ายเมื่อมีการเรียกไฟล์จาก browser ของผู้ใช้ โดยเปิดไฟล์ของเว็บ (ด้วยการพิมพ์ชื่อ URL) หรือคลิกที่ Hypertext link จากนั้น browser จะสร้างการขอ HTTP และไปยัง IP address ที่ชี้โดย URL เมื่อ HTTP daemon ในเครื่องแม่ข่ายปลายทางได้รับการขอ และประมวลผลเรียบร้อย จะส่งไฟล์ที่ขอกลับมา

HTTP เวอร์ชันล่าสุด คือ HTTP 1.1

สารสนเทศเพิ่มเติม

TechMetrix Research : Intranet Architectures and Performances Report.
World Wide Web Consortium : details of the basic 1.0 HTTP rules.

W3C (World Wide Web Consortium)

World Wide Web Consortium (W3C) อธิบายตัวเองดังนี้

"World Wide Web Consortium ได้ตระหนักถึงศักยภาพเต็มที่ของเว็บ W3C เป็นสมาคมทางอุตสาหกรรม ที่มองหาการสนับสนุนมาตรฐานสำหรับการปฏิรูปเว็บ และความสามารถทำงาน ระหว่างผลิตภัณฑ์ WWW โดยการผลิตข้อกำหนดและซอฟต์แวร์ อ้างอิง ถึงแม้ว่า W3C ได้รับการอุดหนุนทางการเงิน โดยอุตสาหกรรมสมาชิก แต่ผลิตภัณฑ์จะแจกจ่ายโดยไม่คิดมูลค่า

สมาคมเป็นสากล : โดยความร่วมมือของ MIT Laboratory for Computer Science ในสหรัฐและยุโรปโดย INRIA ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนท้องถิ่น และทำงานเป็นแกนการพัฒนา W3C ก่อตั้งโดยความร่วมมือของ CERN ที่เริ่มต้นของเว็บ และการสนับสนุนของ DARPA และกรรมธิการยุโรป"

องค์กรนี้ สามารถสมัครเป็นสมาชิกกับสมาคมได้ แต่ไม่มีสมาชิกส่วนบุคคล W3C ได้เข้าครอบครอง CERN, Hypertext Transfer Protocol daemon หรือ web server

สารสนเทศเพิ่มเติม

World Wide Web Consortium : Home page.

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

World Wide Web

คำจำกัดความทางเทคนิคของ World Wide Web คือ ทรัพยากรทั้งหมดและผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP)

คำจำกัดความด้านขอบเขตที่มาจาก World Wide Web Consortium (W3C) คือ "World Wide Web เป็นจักรวาลของเครือข่ายสารสนเทศที่เข้าถึงได้ ที่รวบรวมความรู้ของมนุษย์"

สารสนเทศเพิ่มเติม

W3C web site : The World Wide Web Consortium.

SGML (Standard Generalized Markup Language)

SGML (Standard Generalized Markup Language) เป็นมาตรฐาน สำหรับการระบุภาษา markup หรือ tag ของเอกสาร ข้อกำหนดโดยตัวเอง เป็นประเภทคำจำกัดของเอกสาร SGML ไม่ใช่ตัวภาษา แต่เป็นคำอธิบายสำหรับวิธีการระบุ ซึ่งเป็นข้อมูลแบบ metadata

SGML มีพื้นฐานทางความคิดที่เอกสารมีโครงสร้าง และส่วนประกอบที่สามารถอธิบาย โดยไม่มีการอ้างอิงถึง วิธีการที่ส่วนประกอบในการแสดงผล การแสดงภาพจริงของเอกสาร อาจจะมีความหลากหลาย ขึ้นกับการส่งออกของตัวกลาง และการอ้างอิงรูปแบบ ข้อได้เปรียบบางอย่างของเอกสารที่มีพื้นฐานจาก SGML คือ

- สามารถสร้างโดยการคิดในลักษณะของโครงสร้างเอกสารแทนที่คุณลักษณะที่มองเห็น (ซึ่งมีการเปลี่ยนตลอดเวลา)
- มีความกระทัดรัด เนื่องจาก compiler ของ SGML สามารถแปลเอกสารโดยการอ้างอิงถึง document tag definition(DTD)
- จุดเริ่มต้นของเอกสารมุ่งไปที่ตัวกลางการพิมพ์สามารถปรับไปสู่ตัวอื่นได้ ง่าย เช่น จอภาพ ภาษาที่ web browser นี้ ใช้ Hypertext Markup Language (HTML) เป็นดังตัวอย่างภาษาที่มีพื้นฐานมาจาก SGML

SGML มีพื้นฐาน จากภาษา Generalized Markup Language รุ่นก่อนที่พัฒนา โดย IBM รวมถึงภาษา General Markup Language (GML) และ ISIL

สารสนเทศเพิ่มเติม

Arbortext : An illustrated introduction, SGML: Getting Started.
World Wide Web Consortium : An Overview of SGML Resources.

Tag

Tag เป็นคำทั่วไปสำหรับภาษาแบบ element descriptor กลุ่มของ Tag สำหรับเอกสาร หรือหน่วย ของสารสนเทศในบางครั้ง อ้างถึง markup คำสั่งนี้ในยุคก่อนการใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อผู้เขียนและผู้ตรวจทาน ทำเครื่องหมายบนเอกสารด้วยสัญลักษณ์ ตัวอย่างเช่น การสร้างเว็บเพจด้วยภาษา Hypertext Markup Language (HTML)

Markup

Markup อ้างถึงชุดตัวของอักษร หรือสัญลักษณ์ที่แทรกในตำแหน่งที่แน่นอนในไฟล์แบบประมวลผล

ข้อความหรือคำเพื่อชี้ว่าไฟล์จะดู เมื่อพิมพ์ หรือแสดงผล หรืออธิบายโครงสร้าง ทางตรรกะของเอกสาร ตัวชี้ Markup มักจะได้รับการเรียกว่า tags ตัวอย่าง เช่น การย่อหน้า คือ
< P >
ดังนั้น จะได้รับการแยกไปยังแถวที่ว่างจากแถวที่ต่ออยู่

ปัจจุบันมาตรฐาน คำจำกัดความ Markup สำหรับโครงสร้างเอกสาร (หรือคำอธิบายการใช้ Markup) ใน Standard Generalized Markup Language

Markup สามารถแทรก โดยผู้สร้างเอกสารโดยตรง ด้วยการพิมพ์สัญลักษณ์ การใช้ editor หรือใช้ editor ทันสมัยที่ให้ผู้ใช้สร้างเอกสาร ตามที่ต้องการให้ปรากฏ

XML (Extensible Markup Language)

XML (Extensible Markup Language) เป็นวิธีการที่ยืดหยุ่นในการสร้างรูปแบบสารสนเทศร่วม และการใช้ร่วม ทั้งรูปแบบและข้อมูลใน World Wide Web, Internet และที่ต่าง ๆ เช่น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่เห็นด้วยกับมาตรฐานการอธิบายสารสนเทศของสินค้า จากนั้นทำการสร้างรูปแบบสารสนเทศของสินค้า โดยมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถส่งโปรแกรมที่เรียกว่า Intelligent Agent ไปยัง Web site ต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล และทำการเปรียบเทียบ ซึ่ง XML สามารถใช้โดยบุคคลทั่วไปหรือบริษัทที่ต้องการการใช้สารสนเทศทีมีอยู่

รูปแบบปัจจุบันของ XML ที่แนะนำโดย World Wide Web Consortium (W3C) นั้น มีความคล้ายคลึงกับภาษา HTML ที่ใช้สร้างเว็บเพจในขณะนี้ ทั้ง HTML และ XML ใช้สัญลักษณ์ "Markup" ในการเจาะจงเนื้อหาของเพจหรือไฟล์ ในภาษา HTML เจาะจงเนื้อหาของเว็บเพจสำหรับการแสดงออกมา เช่น < P > สำหรับการเริ่มย่อหน้าใหม่ ส่วนภาษา HTML เจาะจงเนื้อหาในแบบประเภทของข้อมูล เช่น เป็นการชี้ว่าข้อมูลที่มีอยู่เป็นหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งหมายความว่าไฟล์ XML สามารถประมวลผลข้อมูล โดยโปรแกรมหรือเก็บข้อมูลประเภทเดียวในเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น และแสดงบนเว็บเพจ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ได้รับมา สามารถเก็บ แสดง และหมุนได้

XML เป็น Extensible และสัญลักษณ์ "Markup" ไม่จำกัดและกำหนดเองได้ต่างจาก HTML นอกจากนี้ ภาษา XML เป็นภาษาที่ง่ายและใช้ได้สะดวกกับ Subnet ของภาษา Standard Generalized Markup Language ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสร้างโครงสร้างเอกสาร โดยมีการคาดว่า HTML และ XML จะใช้ร่วมกันสำหรับการสร้างเว็บเพจ โปรแกรมประยุกต์ของ XML ได้รวม Microsoft Channel Definition Format ซึ่งเจาะจงช่องทางในการติดต่อกับเว็บที่สามารถดาว์นโหลดมาที่ฮาร์ดดิสก์ และกำหนดช่วงเวลาของการปรับปรุงตามสารสนเทศที่เปลี่ยน โดยไฟล์ CDF จะเก็บตำแหน่งเว็บเพจและความถี่ในการปรับปรุง นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการประยุกต์ของระบบธนาคาร การสั่งซื้อผ่าน E-commerce เป็นต้น

สารสนเทศเพิ่มเติม

Microsoft : Building an Interactive Frequent-Flyer Web Site Using XML.
IBM : XML Developer Web site.
Robin Cover : The SGML/XML Web Page
IBM : Introduction to XML.
World Wide Web Consortium : Extensible Markup Language (XML)

XHTML (Extensible Hypertext Markup language)

World Wide Web Consortium (W3C) อธิบายว่า XHTML (Extensible Hypertext Markup language) เป็น "การกำหนดใหม่ของ HTML 4.0 ในฐานะเป็นการประยุกต์ของ Extensible Markup language (XML)" สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยทั้ง 2 คำ HTML เป็นกลุ่มรหัส (หรือ Markup Language) ที่ผู้เขียนนำมาใส่ไว้ในเอกสาร เพื่อทำให้สามารถแสดงผลงาน World Wide World Wide Web ซึ่ง HTML 4 เป็นเวอร์ชันปัจจุบัน ส่วน XML เป็นโครงสร้างของกลุ่มกฏ สำหรับวิธีการกำหนดของข้อมูล ที่สามารถใช้ร่วมกันบนเว็บการที่เรียกว่า "Extensible Markup Language" เพราะทุกคนสามารถประดิษฐ์กลุ่มของ Markup เฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ และทุกคนสามารถใช้ได้ สามารถปรับและใช้สำหรับหลายวัตถุประสงค์ รวมถึงการปรากฏให้สิ่งที่พบเห็นบนเว็บเพจ จึงทำให้มีการเปลี่ยนกรอบของ HTML ให้เป็น XML ผลลัพธ์ คือ XHTML ซึ่งเป็นการประยุกต์พิเศษของ XML สำหรับเว็บเพจ

ตามข้อเท็จจริง XHTML เป็นเวอร์ชันที่ตามของ HTML 4 อาจจะนับเป็น HTML 5 หรือเรียกว่า XHTML 1.0 นอกจากนี้ XHTML สนับสนุน Markup ของ HTML 4.0 ทั้งส่วนประกอบและคุณลักษณะทั้งหมด แต่ต่างจาก HTML โดย XHTML สามารถสร้างส่วนเพิ่มเติมจากผู้คนที่ใช้ ส่วนประกอบใหญ่และคุณลักษณะ สามารถกำหนดและเพิ่มในเว็บได ้ทำให้สามารถมีวิธีการใหม่ที่จะจัดการเนื้อ และโปรแกรมแบบเว็บเพจ ในส่วนที่มองเห็นไฟล์ XHTML ดูเหมือนกับไฟล์ HTML

ข้อได้เปรียบ

จากคำกล่าวของ W3C ข้อได้เปรียบคือ "extensibility and portability"

extensibility หมายถึง แนวคิดใหม่ สำหรับการสื่อสารและการนำเสนอออกมาของเว็บ สามารถทดลองใช้งานโดยไม่ต้องรอ HTML เวอร์ชันใหม่และการสนับสนุนของ browser คุณลักษณะหรือ tag ใหม่ สามารถกำหนดได้และโปรแกรมที่ปลายทางสามารถทำตามคำสั่งได้ สิ่งใหม่จะเกิดขึ้นบนเว็บเพจ กลุ่มที่เจาะจงของ extension สำหรับ XHTML คือ แผนของ expression ทางคณิตศาสตร์, vector graphic และการประยุกต์ด้านมัลติมีเดีย ถ้า extensibility เป็นการนำไปสู่เพจที่ซับซ้อน และโปรแกรมขนาดใหญ่ขึ้น ข้อได้เปรียบ portability หมายถึง เว็บเพจสามารถทำให้ง่ายขึ้นกว่าที่เคยเป็นทำให้เครื่องมือขนาดเล็ก สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ตามบ้านที่มีโมโครโพรเซสเซอร์ที่มีโปรแกรมอยู่และหน่วยความจำขนาด เล็ก XHTML กำหลดระดับหลายระดับของ Markup ที่ซับซ้อน และแต่ละเอกสารระบุระดับความซับซ้อนตั้งแต่เริ่มต้น โปรแกรมเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่คาดว่าไฟล์คำสั่ง XHTML จะระบุระดับง่ายที่สุดของความซับซ้อนที่สามารถดูแล โดยโปรแกรมขนาดเล็กและหน่วยความจำ

ส่วนที่แตกต่างและพิเศษ

- XHTML ต้องการกฎของรหัสที่ชัดเจน เช่น ต้องการเครื่องหมายการเปิด และปิดส่วนประกอบ (หรือไวยากรณ์) และส่วนประกอบทั้งหมดต้องเป็นอักษรตัวเล็ก HTML ไม่สนใจเครื่องหมาย
- ในความหมายนี้ XHTML จะยุ่งกว่า HTML อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องยากกว่าในการอ่าน เพราะความเคร่งครัด จะบังคับให้มีลำดับมากขึ้นในการเขียนคำสั่ง นอกจากนี้ editor ส่วนใหญ่และเครื่องมือสร้างไฟล์ เพราะสร้างยังให้อ่านได้ง่าย
- XHTML มีความเป็นโครงสร้างและแนวคิดเกี่ยวกับเนื้อหามากกว่า เมื่อรวมกับ style sheet จะมีวิธีการสร้างมากกว่า
- XHTML ทำให้ง่ายขึ้นในการเพิ่มส่วนประกอบใหม่ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่ม (และพัฒนา browser หรือโปรแกรมประยุกต์อื่นสนับสนุน)

ข้อกำหนดของ XHTML กำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างใน W3C

สารสนเทศเพิ่มเติม

encyclozine.com, Alan Richmond : The first XHTML web sites.
W3C web site : The official XTML 1.0: The Extensible Hypertext Markup Language.
WDVL.com, Alan Richmond : Introduction to XHTML, with examples.

CSS 1 (Cascading Style Sheet, level 1)

CSS 1 (Cascading Style Sheet, level 1) ได้รับการแนะนำโดย World Wide Web Consortium (W3C) สำหรับมาตรฐานข้อกำหนดของ cascading style sheet

cascading style sheet เป็น style sheet ที่มาจากหลายแหล่งที่กำหนดลำดับการทำงาน ถ้าข้อกำหนดรูปแบบของ element ขัดแย้งกัน CCS 1 เป็นการกำหนดวิธีการออกแบบเว็บเพ็จและการพัฒนา browser

สารสนเทศเพิ่มเติม

Quick References : Joachim Schwarte, CSS1-Properties Quick Reference Table.
คำแนะนำ CSS1 : The W3C, CSS1 Recommendation.

Cascading Style Sheet (CSS)

Cascading Style Sheet (CSS) เป็นเว็บมีที่มาจากหลายแหล่ง ซึ่งกำหนดลำดับการทำงาน ถ้าข้อกำหนดของรูปแบบ element มีความขัดแย้งกัน cascading style sheet level 1 ที่แนะนำโดย World Wide Web Consortium (W3C) โดยได้รับการนำไปใช้ในเวอร์ชันล่าสุดใน web browser ของ Netscape และ Microsoft โดยการระบุ style sheet ที่เป็นไปได้ หรือคำสั่งที่สามารถค้นหาการแสดงของ element ในเว็บเพจ

CSS ให้การควบคุมที่มากกว่าในความสวยงาม ของเว็บเพจในการสร้างเพจ มากกว่าการออกแบบ browser หรือการดู โดย CSS เป็นแหล่งข้อกำหนดของ style สำหรับการจัดลำดับให้กับ element

1. คุณสมบัติ TITLE กับคำสั่ง BODY
2. element แบบ style กำหนดการระบุ style sheet เก็บการประกาศ style หรือ element แบบ LINK ที่เชื่อมกับเอกสารที่แยกออกที่เก็บ element แบบ style ในเว็บเพจ element แบบ style จะเก็บอยู่ระหว่างคำสั่ง TITLE กับคำสั่ง BODY
3. การนำเข้า style sheet ใช้ CSS @import หรือการนำเข้าอัตโนมัติและรวมกับ style sheet ภายนอกด้วย style sheet ในปัจจุบัน
4. คุณสมบัติของ style ที่ระบุโดย viewer หรือ browser
5. style sheet เริ่มต้นกำหนดโดย browser

โดย style sheet ของผู้สร้างเว็บเพจ จะได้รับการจัดลำดับก่อน แต่ยินยอมให้ browser มีวิธีการสำหรับ viewer ในการเขียนคุณสมบัติของ style ในบางกรณี เนื่องจาก browser ที่ต่างกันจะเลือกใช้ CCS1 แตกต่างกันซึ่งผู้สร้างเว็บเพจต้องทดสอบเพจด้วย browser ที่ต่างกัน

สารสนเทศเพิ่มเติม

การแนะนำที่ดีมากในการใช้ style sheet : Jakob Nielsen's Effective Use of Style Sheets.
site ที่เหมาะสมกับการเริ่มต้นศึกษา style sheet : W3C Web Style Sheets page, The CSS1 recommendation specifically.

HTML 4.0

HTML 4.0 เป็นเวอร์ชันล่าสุดของภาษา Hypertext Markup Language (HTML) เป็นวิธีการพื้นฐานในการกำหนดการนำเสนอเว็บเพจบน web browser ของผู้ใช้ HTML 4.0 ได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการ โดย World Wide Web Consortium (W 3 C) ซึ่งเป็นกลุ่มแนะนำมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับเว็บ

ส่วนใหม่ ของ HTML 4.0 คือ
- cascading style sheet ความสามารถในการควบคุมเว็บเพจที่เป็นแบบหลายระดับ
- ความสามารถในการสร้างรูปแบบ richer
- สนับสนุน frame (ซึ่งปัจจุบัน browsers หลักได้สนับสนุนอยู่แล้ว)
- ขยาย table ให้สร้างความเป็นไปได้ในการใช้ table content สำหรับ Braille หรือการพูด
- ความสามารถในการจัดการเพจ เพื่อทำให้สามารถกระจายเป็นภาษาที่ต่างกัน

ในทางปฏิบัติ ผู้นำด้าน browser คือ Netscape และ Internet Explorer สนับสนุน HTML 4.0 แต่มีความแตกต่างในวิธีการใช้ของตัวเอง ทำให้ผู้พัฒนาเว็บ ที่ใช้ส่วนพิเศษในการสร้างเพจ สำหรับแต่ละ browser และส่งเพจที่เหมาะสมไปยังผู้ใช้

HTML (Hypertext Markup Language)

HTML (Hypertext Markup Language) เป็นกลุ่มของสัญลักษณ์หรือรหัสแบบ " markup" ที่เขียนในไฟล์สำหรับการแสดงบน web browser โดย markup จะบอก web browser ในการแสดงข้อความบนเว็บเพจ และภาพสำหรับผู้ใช้ รหัสแบบ markup ใช้การอ้างอิงส่วนประกอบ (หรือเรียกว่า tag)

HTML เป็นภาพมาตรฐานที่เสนอโดย World Wide Web Consortium (W3C) และได้รับการยอมรับจาก browser รายใหญ่ ซึ่งได้มีส่วนเพิ่มที่ไม่ใช่รหัสมาตรฐาน เวอร์ชันปัจจุบันของ HTML เป็น HTML 4.0 ส่วนสำคัญใน HTML4 ได้รับการเรียกว่า dynamic HTML ในบางครั้งอ้างอิงเป็น HTML 5.0 ซึ่งเป็นส่วนขยายของ HTML เรียกว่า Extensible Hypertext Markup Language

สารสนเทศเพิ่มเติม

Adobe : Adobe's Pagemill
Brooklyn North : Brooklyn North's HTML Assistant Pro
Microsoft : Microsoft's FrontPage
NCSA : A Beginner's Guide to HTML
World Wide Web Consortium : Hypertext Markup Language
World Wide Web Consortium : HTML 4.0 Specification

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

DVD Forum

ที่มา SearchStorage.com
 
DVD Forum เป็นองค์กรนานาชาติที่ประกอบด้วยบริษัทที่ใช้หรือผลิตผลิตภัณฑ์สัมพันธ์กับ digital versatile disc (DVD) โดย Forum ซึ่งได้รับการเรียกว่า DVD Consortium และก่อตั้งขึ้นในปี 2538 เมื่อสิบบริษัท (Hitachi, Matsushita, Mitsubishi, Philips, Pioneer, Sony, Thomson Multimedia, Time Warner, Toshiba Corporation และ Victor) เข้าร่วมสำหรับวัตถุประสงค์ของการส่งเสริม DVD ทั่วโลกและก่อตั้งฟอร์แม็ตมาตรฐานของแต่ละการประยุกต์ DVD สำหรับการตลาด

จากสมาชิกก่อตั้งสิบราย DVD Forum ได้ขยายสมาชิกรวมถึง 230 รายทั่วโลก กิจกรรมของ Forum โดยตรงกับกรรมการขับเคลื่อนที่ได้รับการเลือกทุกสองปี กลุ่มการทำงานแยกกันได้รับการก่อตั้งเพื่อกำหนดข้อกำหนด ซึ่งปัจจุบันรวมถึง DVD-Video (ฟอร์แม็ตนี้คุ้นเคยมาก), DVD-Read-Only Memory (DVD-ROM), DVD-Recordable (DVD-R), DVD-Rewritable (DVD-RW) และ DVD-Audio (DVD-A)

DVD Forum เสนอข้อกำหนดเป็นหนังสือแยกจากข้อกำหนด DVD ที่ระบุโดยตัวอักษร (ตัวอย่าง DVD-R อยู่ใน Book D) ส่วน Verification Task Force (VTF) มีอยู่จริงในการระบุข้อกำหนดทดสอบ เครื่องมือ และผลิตการใช้และทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยอมรับได้กับโลโก DVD ทางการที่ทำตามข้อกำหนดทั้งหมด

สารสนเทศเพิ่มเติม

DVD Forum : โฮมเพจ

DVD-RAM

ที่มา SearchStorage.com
 
DVD-RAM เป็นเทคโนโลยี DVD (ดิสก์อ๊อปติคัล) สำหรับการจัดเก็บข้อมูลความจุสูงสำหรับคอมพิวเตอร์ เหมือนกับ random access memory (RAM) สิ่งนี้สามารถอ่าน เขียน และลบซ้ำได้ ในจุดมุ่งหมายสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บคอมพิวเตอร์เคลื่อนย้ายได้ส่วนใหญ่ DVD-RAM ให้ความสามารถของ Rewriteable CD (CD-RW) หรือซีดีเขียนใหม่ได้ ที่ผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรแกรมจากดิสก์ คัดลอกไฟล์ และเขียนใหม่หรือลบ อย่างไรก็ตาม ด้วยความจุจัดเก็บได้ถึง 9.4 กิกะไบต์ต่อดิสก์สองด้าน DVD-RAM มีความจุหลายเท่าของ CD-RW

ดิสก์ DVD-RAM สามารถเขียนใหม่ได้ 100,000 ครั้งหรือ 100 เท่ามากกว่าทั้ง DVD-RW หรือ DVD+RW ฟอร์แม็ต DVD เขียนใหม่ได้ 2 แบบ ตามปกติ ไดร์ฟ DVD-RAM สามารถอ่านได้ทั้ง ดิสก์ DVD Video และ DVD-ROM รวมถึงซีดีประเภทอื่น เหมือนกับฟอร์แม็ต DVD เขียนใหม่ได้ DVD-RAM ใช้การบันทึกแบบ phase change ซึ่งแปรผันการทำให้เกิดหนาแน่นของเลเซอร์ในพื้นที่เป้าหมายในชั้นการบันทึก แบบ phase change กับการสลับระหว่างสถานะไร้รูปร่างแน่นอน (amorphous) กับผลึก

สารสนเทศเพิ่มเติม

DVD FAQ : ให้สารสนเทศเพิ่มเติม
SearchStorage.com : เสนอการเชื่อมโยงเว็บดีที่สุดเพิ่มเติมเกี่ยวกับดิสก์อ๊อปติคัล
Toshiba : เสนอเอกสารทางการ "What is DVD-RAM?"

DVD-Audio (DVD-A)

ที่มา SearchStorage.com
 
DVD-Audio (DVD-A) เป็นฟอร์แม็ต Digital Versatile Disc (DVD) ท่พัฒนาโดย Panasonic ที่ได้รับการออกแบบเก็บข้อมูลเสียง (audio) อย่างเจาะจงและโดยเฉพาะเพลงคุณภาพสูง DVD Forum ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำ 230 แห่งทั่วโลก การปล่อยข้อกำหนด DVD-A ขั้นสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2542 ฟอร์แม็ต DVD ใหม่ได้รับการกล่าวถึงว่าอย่างน้อยให้คุณภาพเสียงเป็นสองเท่าของซีดีเสียงบน ดิสก์ที่สามารถบรรจุสารสนเทศได้มากถึงเจ็ดเท่า ประเภทหลากหลายของความสอดคล้องของ DVD-A เครื่องเล่น DVD กำลังผลิต นอกจากนี้ เครื่องเล่น DVD-A พัฒนาอย่างเจาะจงกับฟอร์แม็ตนี้

พื้นที่เกือบทั้งหมดบนดิสก์วิดีโอ DVD ได้รับการมอบให้กับการบรรจุข้อมูลวิดีโอ ผลต่อเนื่องจากการจัดสรรพื้นที่ทั้งหมดให้กับข้อมูลเสียง เช่น Dolby Digital 5.1 soundtrack มีความจำกัดมาก เทคนิค lossy compression ที่เรียกตามนี้เพราะข้อมูลบางส่วนหายไปได้รับการใช้ให้สารสนเทศเสียงสามารถ ได้รับการเก็บในพื้นที่ที่มา ทั้งมาตรฐานดิสก์ซีดีและ DVD-Video นอกจากนี้การใช้วิธีการบีบอัดไม่สูญเสีย รวมทั้ง DVD-A ให้ความซับซ้อนมากกว่าของเสียงโดยการเพิ่มอัตราตัวอย่างและช่วงความถี่เหนือ กว่าสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับความจำกัดของพื้นที่ของ DVD-Video และซีดี DVD-Audio เป็น 24 บิตกับอัตราตัวอย่าง 96 kHz ในความเปรียบเทียบกับเสียงประกอบ DVD-Video เป็น 16 บิตกับอัตราตัวอย่าง 48 kHz และมาตรฐานซีดีเสียงเป็น 16 บิตกับอัตราตัวอย่าง 44.1 kHz

ถึงแม้ว่า DVD-A ได้รับการออกแบบสำหรับเพลง ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลอื่นด้วย คล้ายกับ enhanced CD ที่สามารถให้ผู้ฟังด้วยสารสนเทศมากเกินไป เช่น ภาพ ฟอร์แม็ตแตกต่าง เช่น DVD-AudioV ได้รับการออกแบบในการจัดเก็บจำนวนรวมจำกัดของข้อมูล DVD video แบบเดิมเพิ่มเติมจาก DVD-Audio โดย DVD-A ได้รับการหนุนหลังโดยส่วนมากของอุตสาหกรรมเป็นเทคโนโลยีที่จะแทนที่มาตรฐาน audio CD ยกเว้นหลักคือ Philips and Sony ซึ่ง Super Audio CD (SACD) ให้คุณภาพเสียงคล้ายกัน SACD คล้ายกับ DVD-A เสนอช่อง surround sound 5.1 เพิ่มเติมจาก 2 ช่องสเตอริโอ ฟอร์แม็ตทั้งคู่ปรับปรุงความซับซ้อนของเสียงโดยการเพิ่มอัตราบิตและความถี่ ตัวอย่าง และสามารถเล่นบนเครื่องเล่นซีดี ถึงแม้ว่าเฉพาะระดับคุณภาพคล้ายกับสิ่งเหล่านั้นในซีดีแบบดั้งเดิม

สารสนเทศเพิ่มเติม

Best Stuff.com : สำรวจ"DVD-Audio - What It Is, and Why It Took So Long to Get Here"
Digital Audio Guide : ให้ DVD-Audio FAQ
DVD Forum : ให้สารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DVD-A และเทคโนโลยี DVD

DVD (digital versatile disc)

ที่มา Whatis.com
 
DVD เป็นเทคโนโลยี optical disc ด้วยความจุ 4.7 กิกะไบต์บนด้านเดียว ดิสก์ 1 ชั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับภาพยนต์ 133 นาที DVD สามารถเป็น 1 ด้านหรือ 2 ด้าน และสามารถมี 2 ชั้นบนแต่ละด้าน หรือ 2 ด้าน DVD 2 ชั้น จะสามารถบรรจุ 17 กิกะไบต์ของวิดีโอหรือออดิโอ หรือสารสนเทศอื่น เปรียบเทียบกับ 650 เมกกะไบต์ (.65 กิกะไบต์) ของการจัดเก็บสำหรับดิสก์ CD-ROM (เปรียบเทียบกับดิสก์ CD-ROM ที่มีขนาดเดียวกันสามารถเก็บข้อมูลได้ 600 megabyte ดังนั้น DVD สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 28 เท่า)

DVD ใช้ไฟล์ MPEG-2 และมาตรฐานบีบอัด ภาพ MPEG-2 มีความละเอียด 4 เท่าของ MPEG-1 และสามารถส่ง 60 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที โดย 2 ฟิลด์สร้างภาพ 1 เฟรม (MPEG-1 สามารถส่ง 30 ฟิลด์ไขว้ต่อวินาที) คุณภาพออดิโอบน DVD เปรียบเทียบได้กับคอมแพ็คดิสก์ออดิโอปัจจุบัน

ฟอร์แม็ต
• DVD-Video เป็นฟอร์แม็ตที่ออกแบบสำหรับภาพยนต์เรื่องยาวเต็มที่ทำงานกับโทรทัศน์
• DVD-ROM เป็นประเภทของไดรฟและดิสก์สำหรับใช้บนคอมพิวเตอร์ ตามปกติ ไดร์ฟ DVD จะเล่นได้ทั้งดิสก์ CD-ROM และดิสก์ DVD-Video
• DVD-RAM เป็นเวอร์ชันเขียนได้
• DVD-Audio เป็นฟอร์แม็ตแทนที่ซีดี
• มีฟอร์แม็ต DVD บันทึกได้จำนวนหนึ่ง รวมถึง DVD-R สำหรับทั่วไป, DVD-R สำหรับผู้เขียน, DVD-RAM, DVD-RW, DVD+RW และ DVD+R.

DVD เริ่มแรกย่อมาจาก digital video disc และต่อมาสำหรับ digital versatile disc การย่อทางการของ DVD Forum เป็นฟอร์แม็ตที่จะอ้างอิงเป็น DVD

สารสนเทศเพิ่มเติม

Tristan Savatier's DVD Resources page : แหล่งของ link สำหรับการค้นหาเกี่ยวกับ DVD
Jim Taylor : DVD Frequently Asked Questions.

CD burner

ที่มา whatis.com
 
CD burner เป็นชื่อไม่เป็นทางการของเครื่องบันทึกซีดี อุปกรณ์นี้สามารถบันทึกข้อมูลเข้าสู่แผ่นคอมแพ็คดิสก์ ซีดีบันทึกได้ (CD-Recordable หรือ CD-R) และซีดีเขียนซ้ำได้ (CD-Rewritable หรือ CD-RW) เป็นประเภทไดร์ฟที่ใช้เขียนซีดีมากที่สุด ทั้งเขียนครั้งเดียว (สำหรับ CD-R) หรือเขียนซ้ำ (สำหรับ CD-RW) ในกระบวนการบันทึก ข้อมูลได้การแกะลงบนดิสก์ (burn) ด้วยเลเซอร์ เปรียบเทียบกับซีดีบันทึกไม่ได้ Audio CD และ CD-ROM ได้รับการพิมพ์สำเนาจากต้นฉบับ (ซึ่งเขียนหรือ burn ด้วยเลเซอร์) เนื่องจากซีดีบันทึกไม่ได้ได้รับการผลิตในลักษณะนี้ ทำให้ไม่สามารถเขียนได้ หรือเขียนซ้ำในสภาพแวดล้อม desktop

CD-R และ CD-RW เหมือนกับซีดีทำมาจากโพลีคาร์บอเนตเคลือบด้วยโลหะบาง และชั้นนอกป้องกัน ใน CD-R ชั้นของสีโพลีเมอร์อินทรีย์ระหว่างโพลีคาร์บอเนตกับชั้นโลหะทำหน้าที่เป็น ตัวกลางบันทึก ส่วนประกอบของสีเป็นการปรับแปลงถาวรโดยตากกับความถี่เฉพาะของแสง CD-R บางชนิดมีชั้นป้องกันเพื่อลดความเสียหายจากการขีดข่วน เนื่องจากข้อมูลที่ไม่เหมือนกับซีดีปกติคือ ใกล้กับด้านป้ายของดิสก์ ขดร่องที่บากไว้ก่อนช่วยนำเลเซอร์สำหรับการบันทึกข้อมูล ซึ่งเข้ารหัสของด้านในสู่ด้านนอกของดิสก์ในขดร่องเดี่ยวต่อเนื่อง เลเซอร์สร้างรอยในชั้นสีที่เลียนแบบคุณสมบัติการสะท้อนของ pits และ lands (พื้นที่ต่ำและสูง) ของซีดีดั้งเดิม การแยกความแตกต่างระหว่างของพิ้นที่ใช้การสะท้อน light register เป็นข้อมูลดิจิตอลที่ถอดรหัสสำหรับการเล่นกลับ ด้วยซอฟต์แวร์เขียนแพ็คเก็ต และไดร์ฟ CD-R หรือ CD-RW ที่สอดคล้องกัน จึงเป็นไปได้ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ CD-R ในวิธีเดียวกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ฟล๊อปปี้ดิสก์ ถึงแม้ว่าไม่สามารถลบไฟล์และใช้พื้นที่ใหม่ได้ แต่ส่วนของดิสก์สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียว ส่วนประกอบของสีเป็นการปรับแปลงถาวรโดยตากกับเลเซอร์

ใน CD-RW สีได้รับการแทนที่ด้วยอัลลอยที่เปลี่ยนกลับและไปข้างหน้าจากรูปแบบ crystalline เมื่อตากกับแสงเฉพาะ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า optical phase change แบบแผนที่สร้างแยกได้น้อยกว่ารูปแบบซีดี จึงต้องการอุปกรณ์อ่อนไหวสำหรับการเล่นกลับ มีเฉพาะไดร์ฟ "MultiRead" ที่สามารถอ่าน CD-RW อย่างน่าเชื่อถือ คล้ายกับ CD-R โพลีคาร์บอเนตได้รับการเตรียมขดร่องเพื่อนำทางซีดี ส่วนอัลลอยที่เปลี่ยนเป็นชั้นบันทึก ซึ่งตามปกติผสมด้วยเงิน อินเดียม แอนติโมนี และเทลลูเรียม เป็นแซนวิชระหว่างชั้น dielectric 2 ชั้นที่เขียนด้วยความร้อนจากชั้นการบันทึก ความแตกต่างได้รับลงทะเบียนเป็นข้อมูลไบนารีที่สามารถถอดรหัสสำหรับการเล่น กลับ การลบหรือเขียนทับข้อมูลที่บันทึก ใช้เลเซอร์อุณภูมิสูง ซึ่งผลลัพธ์ในรุปแบบ non-crystalline ที่สามารถจัดรูปแบบใหม่โดยเลเซอร์อุณภูมิต่ำ

เครื่องบันทึกซีดีเครื่องแรกได้การทำขึ้นในปี 1988 แต่ไม่เป็นตัวเลือกสำหรับการบันทึกประจำบ้าน เพราะความต้องฮาร์ดแวรืและซอฟต์แวร์ทำให้ราคาสูงถึง 100,000 เหรียญ น้ำหนัก 600 ปอนด์ Meridian Data CD Professional เป็นเครื่องบันทึกซีดีเครื่องแรก ทุกวันนี้เครื่องบันทึกซีดีมีน้ำหนักเบาและสามารถซื้อได้ในราคาต่ำ

สารสนเทศเพิ่มเติม

The CD Page : เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี
Andy McFadden's CD-Recordable FAQ : มีสารสนเทศเกี่ยวกับ CD-R/RW
The PC Technical Guide : เสนอคำอธิบานเจาะลึกของ CD-R/RW

CD-RW (compact disc, rewriteable)

ที่มา whatis.com
 
CD-RW (ย่อมาจาก compact disc, rewriteable) เป็นประเภทของรูปแบบคอมแพ็คดิสก์ที่ยอมให้บันทึกหลายครั้ง (worm) ที่ยอมให้บันทึกบนซีดี 1 ครั้ง รูปแบบ CD-RW ได้รับการแนะนำโดย Hewlett-Packard, Mitsubishi, Philips, Ricoh และ Sony ในเอกสารข้อกำหนดของพวกเขาในปี 1997 หรือ Orange Book ก่อนการออกวาง Orange Book ซีดีเป็นการอ่านเฉพาะ audio (CD-Digital Audio, อธิบายใน Red Book) ที่เล่นได้ในเครื่องเล่นซีดีและมัลติมีเดีย (CD-ROM) หรือเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ในไดร์ฟ CD-ROM หลังจาก Orange Book ผู้ใช้สามารถสร้างซีดีของตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ไดร์ฟ CD-RW สามารถเขียนได้ทั้งดิสก์ CD-R และ CD-RW รวมทั้งสามารถอ่านซีดีทุกประเภท

เหมือนกับซีดีปกติ (รูปแบบต่างๆทั้งหมดที่มีพื้นฐานจาก Red Book CD-DA ดั้งเดิม) CD-R และ CD-RW ประกอบด้วยพลาสติกโพลีคาร์บอเนต เคลือบโลหะสะท้อนแสง และเคลือบชั้นป้องกันภายนอก CD-R เป็นการเขียนครั้งเดียว อ่านหลายครั้ง ซึ่งชั้นสีโพลีเมอร์อินทรีย์ระหว่างโพลีคาร์บอเนตกับชั้นโลหะทำหน้าท่เป็น ชั้นบันทึก ส่วนประกอบของสีเป็นการปรับแปลงถาวรที่เกิดจากความถี่แสงเฉพาะ ใน CD-RW สีได้รับการแทนที่ด้วยอัลลอยที่เปลี่ยนกลับและไปข้างหน้าจากรูปแบบ crystalline เมื่อตากกับแสงเฉพาะ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า optical phase change แบบแผนที่สร้างแยกได้น้อยกว่ารูปแบบซีดี จึงต้องการอุปกรณ์อ่อนไหวสำหรับการเล่นกลับ มีเฉพาะไดร์ฟ "MultiRead" ที่สามารถอ่าน CD-RW อย่างน่าเชื่อถือ

CD-RW ทำมาจากโพลีคาร์บอเนตที่ขดร่องที่บากไว้ก่อนช่วยนำเลเซอร์ คล้ายกับ CD-R ส่วนอัลลอยที่เปลี่ยนเป็นชั้นบันทึก ซึ่งตามปกติผสมด้วยเงิน อินเดียม แอนติโมนี และเทลลูเรียม เป็นแซนวิชระหว่างชั้น dielectric 2 ชั้นที่เขียนด้วยความร้อนจากชั้นการบันทึก หลังจากได้รับความร้อนที่อุณหภูมิเฉพาะ อัลลอยจะกลายเป็น crystalline เมื่อเย็นลง หลังจากให้ความร้อนไปที่อุณหภมิสูงกว่า จะกลายเป็นอสัญฐาน (ไม่เป็นรูปร่าง) เมื่อเย็นลง โดยการควบคุมอุณหภูมิของเลเซอร์ พื้นที่ crystalline และ non-crystalline ได้รับการจัดรูป พื้นที่ crystalline จะสะท้อนเลเซอร์ ขณะที่พื้นที่อื่นจะดูดซับ ความแตกต่างได้รับลงทะเบียนเป็นข้อมูลไบนารีที่สามารถถอดรหัสสำหรับการเล่น กลับ การลบหรือเขียนทับข้อมูลที่บันทึก ใช้เลเซอร์อุณภูมิสูง ซึ่งผลลัพธ์ในรุปแบบ non-crystalline ที่สามารถจัดรูปแบบใหม่โดยเลเซอร์อุณภูมิต่ำ

ตามปกติดิสก์ CD-R เก็บข้อมูลได้ 74 นาที (650 MB) ถึงแม้ว่าบางรุ่นสามารถเก็บได้ 80 นาที (700 MB) และบางรายงานกล่าวว่าสามารถเขียนใหม่ได้ถึง 1,000 ครั้ง ด้วยซอฟต์แวร์เขียนแพ็คเก็ต และไดร์ฟ CD-RW ที่สอดคล้องกัน จึงเป็นไปได้ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ CD- RW ในวิธีเดียวกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ฟล๊อปปี้ดิสก์ เครื่องบันทึกซีดี (ปกติ เรียกว่า CD burners) เคยมีราคาแพงมากสำหรับการใช้ภายบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ราคาเท่าไดร์ฟ CD-ROM

สารสนเทศเพิ่มเติม

The CD Page : เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี
Andy McFadden's CD-Recordable FAQ : มีสารสนเทศเกี่ยวกับ CD-R/RW
The PC Technical Guide : เสนอคำอธิบานเจาะลึกของ CD-R/RW

CD-ROM XA

ที่มา SearchStorage.com
 
CD-ROM XA (Compact Disc - read-only-memory, extended architecture) เป็นการปรับปรุงซีดี-รอม ที่กำหนดสองประเภท sector ใหม่ที่ให้สามารถอ่านและแสดงข้อมูล กราฟฟิก วิดีโอ และเสียงในเวลาเดียวกัน CD-ROM XA ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดย Sony, Philips และ Microsoft ข้อกำหนดได้รับการตีพิมพ์ในส่วนขยายของ Yellow Book

ดิสก์ CD-ROM XA (สำหรับ eXtended Architecture) บรรจุโหมด 2 เซคเตอร์ (พื้นที่ด้านซ้ายว่างสำหรับข้อมูลพิเศษโดยปล่อยการสืบค้นความผิดพลาดและรหัส แก้ไข) และได้รับการออกแบบยอมให้เสียงและข้อมูลอื่นเพื่อแทรกและอ่านในเวลาเดียว กัน) ก่อนหน้านี้ ภาพได้รับการโหลดก่อนแทร๊คเสียงสามารถเล่นได้ ข้อกำหนด CD-ROM XA รวมโหมด 256 สี ซึ่งสอดคล้องกับฟอร์แม็ตพีซี และ CD-i และเสียง Adaptive Differential Pulse Code Modulation (ADPCM) ซึ่งได้รับการกำหนดสำหรับ CD-i ส่วน Photo CD, Video CD และ CD-EXTRA มีความต่อเนื่องบนพื้นฐานของ CD-ROM XA ถึงแม้ว่าไม่สามารถรอดได้ในฐานะเทคโนโลยีแยก

สารสนเทศเพิ่มเติม

CD Page : แหล่งทรัพยากรที่ครอบคลุม

CD-ROM (compact disc, read-only-memory)

ที่มา Whatis.com
 
CD-ROM (compact disc, read-only-memory) เป็นการพัฒนา CD ที่ได้รับการออกแบบให้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของข้อความและกราฟฟิก และระบบเสียงไฮไฟสเตอริโอ มาตรฐานรูปแบบข้อมูลเริ่มแรกได้รับการกำหนดโดย Phillips และ Sony, ใน Yellow Book ปี 1983 มาตรฐานอื่นที่ใช้ร่วมกันในการกำหนดไดเรคทอรี่และโครงสร้างไฟล์ รวมถึง ISO 9660, HFS (Hieraehal File System สำหรับ Macintosh) และ Hybrid HFS-ISO รูปแบบขอบ CD-ROM เหมือนกับ audio CDs มาตรฐาน CD มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 ม.ม. (4.75 นิ้ว) และความหนา 1.2 ม.ม. (0.05 นิ้ว) และประกอบด้วยพลาสติกโพลีคาร์บอเนตที่เป็นชั้น (ชั้นล่าง -เป็นตัวหลักของดิสก์) มีโลหะสะท้อนแสง( เช่น อลูมิเนี่ยม) บาง ๆ 1 ชั้น หรือมากกว่าและเคลือบด้วยแลคเกอร์

Yellow Book มีข้อกำหนดโดยทั่วไปที่กลัวว่าอุตสาหกรรมจะมีรูปแบบสร้างที่ไม่สอดคล้องกัน เพื่อที่จะป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว ตัวแทนจากผู้นำอุตสาหกรรม พบกันที่ High Sierra Hotel ใน Lake Tahoe เพื่อสร้างมาตรฐานร่วมซึ่งมีชื่อเรียกว่า High Sierra Format เวอร์ชันที่ได้ปรับปรุงเป็นมาตรฐาน ISO 9660 ปัจจุบันมาตรฐาน CD-ROM สามารถทำงานกับมาตรฐานไดร์ฟต่าง ๆ ของ CD-ROM ไดร์ฟ CD-ROM สามารอ่านคอมแพคดิสก์สำหรับเพลง แต่เครื่องเล่น CD ไม่สามารถอ่าน CD - ROM

การเก็บข้อมูลของ CD-ROM

ถึงแม้ว่าตัวกลางของดิสก์ และไดร์ฟ ของ CD และ CD-ROM มีหลักการเหมือนกันแต่มีวิธีที่แตกต่างกันในเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูล มี sector ใหม่ 2 sector ได้รับการกำหนด Mode 1 สำหรับการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ และ Mode 2 สำหรับข้อมูล audio หรือ video/graphic แบบบีบอัด

CD-ROM mode 1
CD-ROM mode 1 เป็นโหมดที่ใช้สำหรับ CD-ROM ในการนำข้อมูลและการประยุกต์โดยเฉพาะ เพื่อที่จะเข้าถึงไฟล์ข้อมูลนับพันไฟล์ สามารถเก็บใน CD ประเภทนี้ ซึ่งตำแหน่งที่มีความแม่นยำไม่มีความจำเป็น ข้อมูลได้รับการวางวิธีเดียวกับดิสก์แบบ audio โดยข้อมูลจะเก็บใน sector ซึ่งแต่ละsector เก็บข้อมูลได้ 2,352 ไบต์ โดยการเพิ่มหมายเลขของไบต์ที่ใช้สำหรับการตรวจสอบความผิดพลาดและการแก้ไข ความถึงการควบคุมโครงสร้าง สำหรับ Mode 1 การเก็บข้อมูล ของ CD-ROM ซึ่ง sector จะแตกออกและใช้เดิมข้อมูล 2,048 ไบต์ และอีก 304 ไบต์ จะนำไปใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดในการแก้ไข เพราะ CD-ROM ไม่มี fault tolerant เหมือน CDs แบบ audio บนดิสก์มีความเร็ว 75 sector ต่อวินาที และความสามารถในการเก็บของดิสก์ 681,984,000 ไบต์ (650 MB) และอัตราการส่งผ่านแบบเดี่ยว 150 KBps โดยอัตราสูงสำหรับไดรฟ์ CD-ROM ความเร็วสูง ความเร็วของไดร์ฟ จะแสดงเป็นทวีคูณของอัตราการส่งผ่านเดียว เช่น 2X, 3X, 6X เป็นต้น ไดร์ฟโดยส่วนใหญ่สนับสนุน CD-ROM XA (Extended Architecture ) และ Photo - CD (รวมถึงดิสก์แบบ maltiplesession )

CD-ROM mode 2
CD-ROM mode 1 ใช้สำหรับข้อมูล audio/video แบบบีบอัด และใช้เพียง 2 ชั้นในการตรวจสอบความผิดพลาดและการแก้ไข เช่นเดียวกับ CD-DA ดังนั้น ไบต์ทั้งหมด 2,336 ไบต์ ที่อยู่ต่อจากไบต์ Sync และ header ใช้ในการเก็บข้อมูล ถึงแม้ว่า sector ของ CD-DA, CD-ROM mode 1 และ mode 2 จะมีขนาดเท่ากัน แต่จำนวนการเก็บข้อมูลทั้งหมดจะแตกต่างกัน เนื่องจากการใช้ไบต์ sync และไบต์ header การตรวจสอบความผิดพลาดและการแก้ไขรูปแบบของ Mode 2 มีวิธีการที่ยึดหยุ่นในการเก็บกราฟฟิก และวิดีโอ โดยยินยอมให้ข้อมูลต่างประเภทกันสามารถรวมกัน และกลายเป็นพื้นฐานของ CD-ROM XA นอกจากนี้ Mode 2 สามารถอ่านได้ด้วยไดร์ฟ CD-ROM ธรรมดา

การเข้ารหัสข้อมูลและการอ่าน

CD-ROM เหมือน CD - adaptarions ประเภทอื่นที่ใช้การเข้ารหัสแถบขด (spiral track) ที่เริ่มจากจุดศูนย์กลางไปยังแถบนอกสุดของดิสก์ แถบขด สามารถเก็บข้อมูลได้บ็บ็บ 650 MB หรือประมาณ 5.5 พันล้านบิต track pitch เป็นระยะระหว่าง track 2 track โดยวัดจากกึ่งกลางของ track หนึ่งไปยังกึ่งกลางของอีก track ซึ่งช่วงจาก 1.5 ถึง 1.7 micron แต่โดยทั่วไปจะเป็น 1.6 micron ความเร็วเชิงเส้นคงที่ เป็นหลักการในการอ่านข้อมูลจาก CD-ROM วิธีการนี้เป็นการระบุให้หัวอ่านต้องตอบสนอง track ข้อมูลด้วยอัตราคงที่ทั้งการอ่านข้อมูลด้านใหญ ่และด้านนอก ทำให้มีผลกับความเร็วรอบมีการเปลี่ยนแปลง 500 รอบ ต่อนาทีที่ศูนย์กลาง ถึง 200 รอบต่อนาที ที่ด้านนอก ใน CD เพลงข้อมูลได้รับการอ่านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ความเร็วจึงไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ ในอีกด้านหนึ่ง CD-ROM ต้องอ่านข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งมีความจำเป็นที่คงที่ โดยการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบ การหยุดในฟังก์ชันการอ่านจะได้ยินเสียง ทำให้ไดร์ฟที่เร็วจะมีเสียงรบกวน

สารสนเทศเพิ่มเติม

สารสนเทศ CD ที่ดี : The CD Page, a comprehensive resource.
อธิบายการทำงาน CD : How Stuff Works.

CD-R (compact disc, recordable)

ที่มา whatis.com
 
CD-R (ย่อมาจาก compact disc, recordable) เป็นประเภทของรูปแบบคอมแพ็คดิสก์ที่เขียน 1 ครั้ง อ่านหลายครั้ง (worm) ที่ยอมให้บันทึกบนซีดี 1 ครั้ง รูปแบบ CD-R (และ CD-RW) ได้รับการแนะนำโดย Philips และ Sony ในเอกสารข้อกำหนดของพวกเขาในปี 1988 หรือ Orange Book ก่อนการออกวาง Orange Book ซีดีเป็นการอ่านเฉพาะ audio (CD-Digital Audio, อธิบายใน Red Book) ที่เล่นได้ในเครื่องเล่นซีดีและมัลติมีเดีย (CD-ROM) หรือเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ในไดร์ฟ CD-ROM หลังจาก Orange Book ผู้ใช้สามารถสร้างซีดีของตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

เหมือนกับซีดีปกติ (รูปแบบต่างๆทั้งหมดที่มีพื้นฐานจาก Red Book CD-DA ดั้งเดิม) CD-R ประกอบด้วยพลาสติกโพลีคาร์บอเนต เคลือบโลหะสะท้อนแสง และเคลือบชั้นป้องกันภายนอก ใน CD-R ชั้นสีโพลีเมอร์อินทรีย์ระหว่างโพลีคาร์บอเนตกับชั้นโลหะทำหน้าท่เป็นชั้น บันทึก ส่วนประกอบของสีเป็นการปรับแปลงถาวรที่เกิดจากความถี่แสงเฉพาะ บาง CD-R มีชั้นป้องกันเพิ่มเติมเพื่อลดความเสียหายจากการขีดข่วน เนื่องจากข้อมูลที่ไม่เหมือนกับซีดีปกติคือ ใกล้กับด้านป้ายของดิสก์ ขดร่องที่บากไว้ก่อนช่วยนำเลเอร์สำหรับการบันทึกข้อมูล ซึ่งเข้ารหัสของด้านในสู่ด้านนอกของดิสก์ในขดร่องเดี่ยวต่อเนื่อง เลเซอร์สร้างรอยในชั้นสีที่เลียนแบบคุณสมบัติการสะท้อนของ pits และ lands (พื้นที่ต่ำและสูง) ของซีดีดั้งเดิม การแยกความแตกต่างระหว่างของพิ้นที่ใช้การสะท้อน light register เป็นข้อมูลดิจิตอลที่ถอดรหัสสำหรับการเล่นกลับ

ตามปกติดิสก์ CD-R เก็บข้อมูลได้ 74 นาที (650 MB) ถึงแม้ว่าบางรุ่นสามารถเก็บได้ 80 นาที (700 MB) ด้วยซอฟต์แวร์เขียนแพ็คเก็ต และไดร์ฟ CD-R หรือ CD-RW ที่สอดคล้องกัน จึงเป็นไปได้ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ CD-R ในวิธีเดียวกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ฟล๊อปปี้ดิสก์ ถึงแม้ว่าไม่สามารถลบไฟล์และใช้พื้นที่ใหม่ได้ แต่ส่วนของดิสก์สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียว ซีดีเขียนใหม่ได้ CD-RW ใช้ชั้นอัลลอย(แทนที่ชั้นสี) ซึ่งสามารถปรับแปลงเป็นและจากสถานะ crystalline ซ้ำไปมาได้

เครื่องบันทึกซีดี (ปกติ เรียกว่า CD burners) เคยมีราคาแพงมากสำหรับการใช้ภายบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ราคาเท่าไดร์ฟ CD-ROM การสร้าง CD-R สามารถทำได้ในไดร์ฟ CD-R หรือ CD-RW

สารสนเทศเพิ่มเติม

The CD Page : เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี
Andy McFadden's CD-Recordable FAQ : มีสารสนเทศเกี่ยวกับ CD-R/RW
The PC Technical Guide : เสนอคำอธิบายเจาะลึกของ CD-R/RW

CD-Magneto Optical (CD-MO)

ที่มา SearchStorage.com
 
CD-Magneto Optical (CD-MO) เป็นฟอร์แม็ตคอมแพคดิสก์ที่ใช้สนามแม่เหล็กสำหรับการจัดเก็บข้อมูล ตามการกำหนดใน Recordable CD Standard โดย Philips และ Sony ในปี 1990 (เรียกอย่างไปเป็นทางการว่า Orange Book) ดิสก์ CD-MO สามารถได้รับการเขียนไม่จำกัดจำนวนครั้ง อย่างน้อยในทางทฤษฎี

ดิสก์ CD-MO ได้รับการสร้างจากอัลลอยของเฟอร์ไรท์เทอเบียมและโคบอล์ท การอ่านดิสก์ CD-MO อยู่บนฐาน Kerr effect ใน Kerr effect แสงโพลาไรซ์เชิงเส้นได้รับการหักเหเมื่อได้รับอิทธิพลโดยสนามแม่เหล็ก และระนาบของการทำให้มีลักษณะเป็นแม่เหล็ก (polarization) ถูกบิด วิธีการ MO เปลี่ยนคุณลักษณะแม่เหล็กของพื้นที่บางๆ บนพื้นผิวดิสก์ ดังนั้นการอ่านลำแสงเลเซอร์ได้รับการสะท้อนแตกต่างจากพื้นที่ดัดแปลงมากกว่า พื้นที่ไม่ดัดแปลง

เมื่อการเขียนสู่ดิกส์ ลำแสงเลเซอร์ได้รับการรวมแสงบนจุดขนาดเล็กอย่างเต็มที่ และอัลลอยได้รับทำให้ร้อนไปสู่อุณหภูมิเจาะจง (เรียกว่า Curie point) ที่เพียงพอที่จะเป็นเหตุให้คุณสมบัติเฟอร์โรแมกเนติก (ferromagnetic) ของอนุภาคจัดแนวจะสูยหายไป อิเลคโทรแมกเนติก (electromagnet) ได้รับการวางตำแหน่งบนอีกด้านของดิสก์ เปลี่ยนขั้วของอนุภาค ซึ่งความแตกต่างจะได้รับการเข้ารหัสเป็นข้อมูลไบนารีสำหรับการจัดเก็บ CD-MO เหมือนกับตัวกลางแสงอื่น เช่น DVD และรูปแบบซีดีอื่น ที่ได้รับการอ่านโดยแสงเลเซอร์ ซึ่งทำให้น่าเชื่อถือมากกว่าฮาร์ดดิสก์หรือฟล๊อปปี้ดิสก์ อย่างไรก็ตามสนามแม่เหล็กเข้มสามารถทำให้ข้อมูลสลาย